งานรวมสินค้าและนวัตกรรมทางด้านอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย Metalex 2010
ท่านสามารถดูสินค้าจริง และพบพูดคุยกับพนักงานขายประจำบู๊ทของเราได้ที่ Boot หมายเลข SF007 Zone Superdome ตั้งแต่วันที่ 24~27 พฤศจิกายน เวลา 10.00 ~ 19.00 น.
หากท่านบอกว่าดูมาจากเว็บไซต์นี้ รับสมุดฉีกของ LST Group ฟรี 1 เล่ม
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับท่านในงาน
ขอแสดงความนับถือ
L.S.T. Group
disableMouse
วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วิธีการเรียกน๊อตขั้นพื้นฐาน - ความแข็งของน๊อต
เมื่อเรารู้แล้วว่า น๊อตหน้าตาแบบนี้มันต้องเรียกว่าอะไร
เราก็ต้องมาให้ความสำคัญกับเกรดและความแข็ง เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ใช้
หลักการง่ายๆ ในการเลือกเกรดของหัวน๊อต ก็คือดูว่าสกรู (น๊อตตัวผู้) ที่เราจะใช้นั้นเป็นเกรดอะไร (อ่านเรื่องความแข็งของสกรูได้ที่ วิธีการเรียกสกรูขึ้นพื้นฐาน บทที่ 5 - ความแข็งของสกรู)
โดยหลักสากลแล้ว สกรูที่เป็นเหล็กเหนียว (เหล็กไม่แข็ง) นั้น จะใช้กับหัวน๊อตที่เป็นเหล็กเหนียว (Class 4) และสกรูที่เป็นเหล็กแข็งเกรด 8.8 ก็จะใช้กับหัวน๊อต Class 8 เช่นกัน
แต่เนื่องด้วยหัวน๊อต Class 8 นั้นมีราคาสูงกว่า หัวน๊อตที่เป็นเหล็กเหนียว (Class 4) จึงทำให้ผู้ใช้บางคน ยอมลด Spec มาใช้หัวน๊อตที่เป็นเหล็กเหนียว (Class 4) กับสกรูที่เป็นเหล็กแข็งเกรด 8.8 เพราะส่วนใหญ่แล้วส่วนที่รับน้ำหนักและแรงดึงจะเป็นลำตัวของสกรู หัวน๊อตจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำมาจากเหล็กแข็งในบางกรณี
ด้านล่างเป็นตารางแสดงว่าหัวน๊อต Class ใดใช้กับสกรูเหล็กแข็งเกรดใด
ภาพประกอบ 1 - ตารางค่าความแข็งของหัวน๊อต Class 8 และ Class 10 (เกลียวมิล)
สำหรับสกรูเหล็กแข็งเกรด 5 และ เกรด 8 (เกลียวหุน) นั้น หัวน๊อตที่ใช้คู่ด้วย ก็จะมีชื่อเรียกต่างจากหัวน๊อตเกลียวมิล
ภาพประกอบ 2 - ตารางค่าความแข็งของหัวน๊อตเกรด 1 และ เกรด 5 (เกลียวหุน)
เช่นเดียวกันกับโลหะภัณฑ์ชนิดอื่นๆ คือท่านไม่สามารถรู้ได้ว่า มันแข็งแค่ไหนโดยการดูด้วยตาเปล่า เราจึงต้องดูจากสัญลักษณ์ที่ปั๊มอยู่บนตัวสินค้า
โดย หัวน๊อต Class 8 ก็จะมีปั๊มเลข 8 และหัวน๊อต หัวน๊อต Class 10 ก็จะมีปั๊มเลข 10 อยู่ตรงขอบของหัวน๊อต
อ้าว! แล้วจะเชื่อได้ยังงัยว่าตัวเลขนั้นไม่โกหก? ไม่ใช่ว่าผู้ผลิตปั๊มตัวเลขหรือสัญลชัษณ์ขึ้นมามั่วๆ เพื่อให้ขายได้แพงๆรึ?
- นั่นเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องเลือกซื้อสินค้าจากผู้ขายที่มีความน่าเชื่อถือในตลาดสูง อยู่ในตลาดมายาวนาน มีใบเซอร์รับรองคุณภาพสินค้าให้ และพร้อมที่จะรับผิดชอบ หากคุณภาพของสินค้าไม่ได้ตามมาตรฐานที่ได้เคลมเอาไว้
สรุป: หากท่านไปซื้อสินค้าตามร้านสกรูน๊อต แล้วไม่ระบุเกรดของหัวน๊อต ท่านจะได้หัวน๊อตเกรดธรรมดา (Class 4) ถึงแม้ว่าท่านจะซื้อสกรูเหล็กแข็ง 8.8 หรือ 10.9 ก็ตาม เพราะฉะนั้น หากท่านต้องการหัวน๊อตเหล็กแข็ง ท่านต้องระบุเกรดของหัวน๊อตด้วยทุกครั้ง
อ่านบทความเกี่ยวกับหัวน๊อตย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของน๊อต
บทที่ 2 - ขนาดของน๊อต
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่ง สกรูน๊อตและสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
เราก็ต้องมาให้ความสำคัญกับเกรดและความแข็ง เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ใช้
หลักการง่ายๆ ในการเลือกเกรดของหัวน๊อต ก็คือดูว่าสกรู (น๊อตตัวผู้) ที่เราจะใช้นั้นเป็นเกรดอะไร (อ่านเรื่องความแข็งของสกรูได้ที่ วิธีการเรียกสกรูขึ้นพื้นฐาน บทที่ 5 - ความแข็งของสกรู)
โดยหลักสากลแล้ว สกรูที่เป็นเหล็กเหนียว (เหล็กไม่แข็ง) นั้น จะใช้กับหัวน๊อตที่เป็นเหล็กเหนียว (Class 4) และสกรูที่เป็นเหล็กแข็งเกรด 8.8 ก็จะใช้กับหัวน๊อต Class 8 เช่นกัน
แต่เนื่องด้วยหัวน๊อต Class 8 นั้นมีราคาสูงกว่า หัวน๊อตที่เป็นเหล็กเหนียว (Class 4) จึงทำให้ผู้ใช้บางคน ยอมลด Spec มาใช้หัวน๊อตที่เป็นเหล็กเหนียว (Class 4) กับสกรูที่เป็นเหล็กแข็งเกรด 8.8 เพราะส่วนใหญ่แล้วส่วนที่รับน้ำหนักและแรงดึงจะเป็นลำตัวของสกรู หัวน๊อตจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำมาจากเหล็กแข็งในบางกรณี
ด้านล่างเป็นตารางแสดงว่าหัวน๊อต Class ใดใช้กับสกรูเหล็กแข็งเกรดใด
ภาพประกอบ 1 - ตารางค่าความแข็งของหัวน๊อต Class 8 และ Class 10 (เกลียวมิล)
สำหรับสกรูเหล็กแข็งเกรด 5 และ เกรด 8 (เกลียวหุน) นั้น หัวน๊อตที่ใช้คู่ด้วย ก็จะมีชื่อเรียกต่างจากหัวน๊อตเกลียวมิล
ภาพประกอบ 2 - ตารางค่าความแข็งของหัวน๊อตเกรด 1 และ เกรด 5 (เกลียวหุน)
เช่นเดียวกันกับโลหะภัณฑ์ชนิดอื่นๆ คือท่านไม่สามารถรู้ได้ว่า มันแข็งแค่ไหนโดยการดูด้วยตาเปล่า เราจึงต้องดูจากสัญลักษณ์ที่ปั๊มอยู่บนตัวสินค้า
โดย หัวน๊อต Class 8 ก็จะมีปั๊มเลข 8 และหัวน๊อต หัวน๊อต Class 10 ก็จะมีปั๊มเลข 10 อยู่ตรงขอบของหัวน๊อต
อ้าว! แล้วจะเชื่อได้ยังงัยว่าตัวเลขนั้นไม่โกหก? ไม่ใช่ว่าผู้ผลิตปั๊มตัวเลขหรือสัญลชัษณ์ขึ้นมามั่วๆ เพื่อให้ขายได้แพงๆรึ?
- นั่นเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องเลือกซื้อสินค้าจากผู้ขายที่มีความน่าเชื่อถือในตลาดสูง อยู่ในตลาดมายาวนาน มีใบเซอร์รับรองคุณภาพสินค้าให้ และพร้อมที่จะรับผิดชอบ หากคุณภาพของสินค้าไม่ได้ตามมาตรฐานที่ได้เคลมเอาไว้
สรุป: หากท่านไปซื้อสินค้าตามร้านสกรูน๊อต แล้วไม่ระบุเกรดของหัวน๊อต ท่านจะได้หัวน๊อตเกรดธรรมดา (Class 4) ถึงแม้ว่าท่านจะซื้อสกรูเหล็กแข็ง 8.8 หรือ 10.9 ก็ตาม เพราะฉะนั้น หากท่านต้องการหัวน๊อตเหล็กแข็ง ท่านต้องระบุเกรดของหัวน๊อตด้วยทุกครั้ง
อ่านบทความเกี่ยวกับหัวน๊อตย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของน๊อต
บทที่ 2 - ขนาดของน๊อต
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่ง สกรูน๊อตและสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553
วิธีการเรียกน๊อตขั้นพื้นฐาน - บทที่ 2 ขนาดของน๊อต
เช่นเดียวกับสกรู เมื่อรู้แล้วว่ารูปร่างของน๊อตชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่าอะไร ก็ต้องระบุขนาดที่ต้องการด้วยเช่นกัน
สำหรับหน่วยวัดที่ใช้เรียกก็จะมีทั้งหุนและมิล เช่นเเดียวกัน โดยท่านสามารถอ่านละเอียดเกี่ยวกับระบบมิลและหุนได้ที่ วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
ทีนี้เรามาดูกันว่า หัวน๊อตนั้นมีส่วนสำคัญใดบ้างที่ใช้ในการวัดขนาด
(ภาพประกอบ 1)
จากภาพประกอบ 1 เราจะเห็นเส้น 3 เส้น และเส้นที่สำคัญที่สุดในการเรียกขนาดหัวน๊อตก็คือ เส้น ID (เส้นสีน้ำเงิน) โดย ID นั้นย่อมาจาก Inside Diameter หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางวงใน
อีก 2 เส้นที่เหลือคือ เส้น AC และ AF
โดยเส้น AC (เส้นสีแดง) นั้นย่อมาจาก Across Corner หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางจากมุมถึงมุม
และเส้น AC (เส้นสีชมพู) นั้นย่อมาจาก Across Flat หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางจากขอบถึงขอบ
ทำไม ID จึงสำคัญที่สุด?
ตามที่ทราบๆ กันดีว่า หัวน๊อตน๊อตจะต้องเอาไปขันกับสกรู เพราะฉะนั้น หากเอาไปใช้งานจริงแล้วมันขันเข้ากับสกรูไม่ได้ หัวน๊อตนั้นก็เปรียบเหมือนเศษเหล็ก จึงทำให้การกำหนดขนาดของหัวน๊อตนั้น จะเรียกตามขนาดของรู หรือ ID นั่นเอง
แล้วส่วนที่เหลือสำคัญยังงัย?
ความสำคัญของ AC ก็คือจะทำให้ทราบได้ว่าต้องใช้ประแจเบอร์อะไรในการขัน
ส่วนความสำคัญของ AF ก็เพื่อทำการ Cross Check กับมาตรฐานว่าหัวน๊อตตัวนี้ ผลิตตามาตรฐานใด (DIN, JIS, ASTM เป็นต้น)
ตัวอย่างวิธีการเรียกขนาดหัวน๊อต
- หัวน๊อต M16 คือ รูเกลียวมีขนาด M16 ใช้กับสกรูโต M16
- หัวน๊อตล็อคสปริง M20 คือ รูเกลียวมีขนาด M20 ใช้กับสกรูโต M20
- อายนัท (หัวน๊อตห่วง) 1/2" คือ รูเกลียวมีขนาด 1/2" ใช้กับสกรูโต 1/2" (ไม่ได้วัดตรงห่วง)
เป็นต้น
อ่านบทความเกี่ยวกับหัวน๊อตย้อนหลัง
วิธีการเรียกน๊อตขั้นพื้นฐาน - บทที่ 1 รูปร่างของน๊อต
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
สำหรับหน่วยวัดที่ใช้เรียกก็จะมีทั้งหุนและมิล เช่นเเดียวกัน โดยท่านสามารถอ่านละเอียดเกี่ยวกับระบบมิลและหุนได้ที่ วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
ทีนี้เรามาดูกันว่า หัวน๊อตนั้นมีส่วนสำคัญใดบ้างที่ใช้ในการวัดขนาด
(ภาพประกอบ 1)
จากภาพประกอบ 1 เราจะเห็นเส้น 3 เส้น และเส้นที่สำคัญที่สุดในการเรียกขนาดหัวน๊อตก็คือ เส้น ID (เส้นสีน้ำเงิน) โดย ID นั้นย่อมาจาก Inside Diameter หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางวงใน
อีก 2 เส้นที่เหลือคือ เส้น AC และ AF
โดยเส้น AC (เส้นสีแดง) นั้นย่อมาจาก Across Corner หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางจากมุมถึงมุม
และเส้น AC (เส้นสีชมพู) นั้นย่อมาจาก Across Flat หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางจากขอบถึงขอบ
ทำไม ID จึงสำคัญที่สุด?
ตามที่ทราบๆ กันดีว่า หัวน๊อตน๊อตจะต้องเอาไปขันกับสกรู เพราะฉะนั้น หากเอาไปใช้งานจริงแล้วมันขันเข้ากับสกรูไม่ได้ หัวน๊อตนั้นก็เปรียบเหมือนเศษเหล็ก จึงทำให้การกำหนดขนาดของหัวน๊อตนั้น จะเรียกตามขนาดของรู หรือ ID นั่นเอง
แล้วส่วนที่เหลือสำคัญยังงัย?
ความสำคัญของ AC ก็คือจะทำให้ทราบได้ว่าต้องใช้ประแจเบอร์อะไรในการขัน
ส่วนความสำคัญของ AF ก็เพื่อทำการ Cross Check กับมาตรฐานว่าหัวน๊อตตัวนี้ ผลิตตามาตรฐานใด (DIN, JIS, ASTM เป็นต้น)
ตัวอย่างวิธีการเรียกขนาดหัวน๊อต
- หัวน๊อต M16 คือ รูเกลียวมีขนาด M16 ใช้กับสกรูโต M16
- หัวน๊อตล็อคสปริง M20 คือ รูเกลียวมีขนาด M20 ใช้กับสกรูโต M20
- อายนัท (หัวน๊อตห่วง) 1/2" คือ รูเกลียวมีขนาด 1/2" ใช้กับสกรูโต 1/2" (ไม่ได้วัดตรงห่วง)
เป็นต้น
อ่านบทความเกี่ยวกับหัวน๊อตย้อนหลัง
วิธีการเรียกน๊อตขั้นพื้นฐาน - บทที่ 1 รูปร่างของน๊อต
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553
วิธีการเรียกน๊อตขั้นพื้นฐาน - บทที่ 1 รูปร่างของน๊อต
มาถึงเรื่องของหัวน๊อตกันบ้าง
4. หัวน๊อตห่วง
5. หัวน๊อตผ่า
คนไทยส่วนใหญ่แล้ว จะเข้าใจว่าคำว่าน๊อตนั้น จะมีความหมายรวมทั้ง สกรู (น๊อตตัวผู้) และ หัวน๊อต (น๊อตตัวเมีย) แต่จริงๆ แล้ว หากผู้ใช้หรือผู้ซื้อไม่แยกชื่อเรียกให้ชัดเจน ว่า น๊อตตัวผู้ คือ สกรู และน๊อตตัวเมียคือหัวน๊อตแล้ว อาจทำให้เกิดความสับสนและอาจได้รับสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามต้องการได้
สำหรับรายละเอียดพื้นฐานสกรูหรือน๊อตตัวผู้นั้น ท่านสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน
เอาล่ะ เรามาเริ่มเรื่องหัวน๊อตของเรากันดีกว่า
หัวน๊อตหรือน๊อตตัวเมียนั้น เป็นที่เข้าใจกันดีว่า จะต้องมีรูตรงกลางและมีเกลียวอยู่ด้านในรู เพื่อที่จะใช้ขันร่วมกับสกรู
หัวน๊อตทั่วไปที่เรารู้จักกันดีและหลายคนคงคิดว่ามีแต่รูปร่างแบบนี้ก็คือ หัวน๊อตหกเหลี่ยม
(ถาพประกอบ 1)
เพราะฉะนั้นถ้าพูดว่าหัวน๊อตเฉยๆ แล้วไม่ระบุอะไรเพิ่มเติม ก็จะเป็นอันเข้าใจว่า ต้องการหัวน๊อตหกเหลี่ยม
แต่แท้จริงแล้ว หัวน๊อตนั้นมีรูปร่างหลากหลาย ซึ่งการใช้งานก็จะหลากหลายไปตามรูปร่างของมันด้วย ดังเช่น ตัวอย่างดังต่อไปนี้
4. หัวน๊อตห่วง
5. หัวน๊อตผ่า
เป็นต้น
เพราะฉะนั้น เวลาเรียกสินค้าเหล่านี้ อย่าลืมแยก "สกรู" กับ "น๊อต" ให้ชัดเจนนะครับ
หากเรียกว่าสกรูน๊อต ก็จะเข้าใจว่า ต้องการทั้งสกรูและน๊อตครบชุด
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่ง สกรูน๊อตและสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 6 - สกรูสแตนเลส
มาถึงเรื่องสกรูสแตนเลสกันบ้าง
สกรูสแตนเลสนั้นมีราคาแพงกว่าสกรูที่เป็นเหล็กแข็งกว่าเท่าตัว (อ่านเรื่องความแข็งของสกรูคลิ๊กที่นี่)
แต่ทำไมถึงต้องใช้สกรูสแตนเลสด้วยล่ะทั้งๆที่มันแพงกว่า?
นั่นก็เพราะว่า สแตนเลสนั้นมีโอกาสเกิดสนิมขึ้นน้อยกว่าเหล็กมาก เนื่องจากสนิมนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ Carbon กับ Oxygen โดยในสกรูสแตนเลสนั้นจะมี Carbon ผสมอยู่น้อยถึงน้อยมาก (แม่เหล็กดูดไม่ติด หรืออาจจะติดบ้างแต่ไม่เท่ากับเหล็ก) ซึ่งหากการใช้งานของสกรูอยู่ในพื้นที่ที่ต้องโดนน้ำอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้สกรูสแตนเลสก็น่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า ทั้งด้านความปลอดภัยและค่าใช้จ่าย
สกรูสแตนเลสที่เป็นที่รู้จักดีและเป็นที่นิยมในบ้านเรานั้น จะมีอยู่ 2 เกรด ได้แก่ เกรด SUS-304 และ SUS-316 โดย SUS นั้นย่้อมาจาก Steel Use Stainless
โดยการเปรียบเทียบคุณสมบัติของสกรูทั้ง 2 เกรดนี้ แทบจะไม่ต้องคิดมากเลยว่า เกรด SUS-316 นั้นต้องดีกว่า SUS-304 อยู่แล้ว ทั้งการเป็นสนิมที่ยากกว่า เนื่องจากมี นิกเกิ้ล (Ni) ผสมอยู่มากกว่า 2-3.5% และสามารถทนทานความร้อนได้สูงกว่า เนื่องจากมี โมลิบดินั่ม (Mo) ผสมอยู่ด้วยในขณะที่ SUS-304 นั้นไม่มี
ซึ่งแน่นอนที่ว่า ราคาของ SUS-316 นั้นก็สูงกว่า SUS-304 เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว (ประมาณ 80%) แต่นอกจากคุณสมบัติที่แตกต่างกัน 2 อย่างดังที่กล่าวไปแล้วนั้น คุณสมบัติอื่นๆ ของสกรู 2 เกรดนี้ เรียกได้ว่า ไม่แตกต่างกันเลย ทั้งการรับแรงกด แรงขัน แรงดึง ความแข็ง
สำหรับสกรูที่ทำมาจากสแตนเลสเกรด SUS-304 นั้น ที่หัวสกรูจะมีปั๊มสัญลักษณ์ A2 (หรือไม่ได้ปั๊ม) ส่วนเกรด SUS-316 จะปั๊มว่า A4
ตัวอย่างสกรูสแตนเลสได้แก่
จึงเห็นได้ว่า การเรียกรูปร่างของสกรูนั้น ก็ใช้วิธีการเดียวกันกับสกรูเหล็ก เพียงแต่ต้องระบุด้วยว่าต้องการแบบสแตนเลสด้วย มิฉะนั้น คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเป็นสกรูเหล็ก
อ่านวิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐานย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
บทที่ 5 - ความแข็งของสกรู
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
แต่ทำไมถึงต้องใช้สกรูสแตนเลสด้วยล่ะทั้งๆที่มันแพงกว่า?
นั่นก็เพราะว่า สแตนเลสนั้นมีโอกาสเกิดสนิมขึ้นน้อยกว่าเหล็กมาก เนื่องจากสนิมนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ Carbon กับ Oxygen โดยในสกรูสแตนเลสนั้นจะมี Carbon ผสมอยู่น้อยถึงน้อยมาก (แม่เหล็กดูดไม่ติด หรืออาจจะติดบ้างแต่ไม่เท่ากับเหล็ก) ซึ่งหากการใช้งานของสกรูอยู่ในพื้นที่ที่ต้องโดนน้ำอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้สกรูสแตนเลสก็น่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า ทั้งด้านความปลอดภัยและค่าใช้จ่าย
สกรูสแตนเลสที่เป็นที่รู้จักดีและเป็นที่นิยมในบ้านเรานั้น จะมีอยู่ 2 เกรด ได้แก่ เกรด SUS-304 และ SUS-316 โดย SUS นั้นย่้อมาจาก Steel Use Stainless
โดยการเปรียบเทียบคุณสมบัติของสกรูทั้ง 2 เกรดนี้ แทบจะไม่ต้องคิดมากเลยว่า เกรด SUS-316 นั้นต้องดีกว่า SUS-304 อยู่แล้ว ทั้งการเป็นสนิมที่ยากกว่า เนื่องจากมี นิกเกิ้ล (Ni) ผสมอยู่มากกว่า 2-3.5% และสามารถทนทานความร้อนได้สูงกว่า เนื่องจากมี โมลิบดินั่ม (Mo) ผสมอยู่ด้วยในขณะที่ SUS-304 นั้นไม่มี
ซึ่งแน่นอนที่ว่า ราคาของ SUS-316 นั้นก็สูงกว่า SUS-304 เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว (ประมาณ 80%) แต่นอกจากคุณสมบัติที่แตกต่างกัน 2 อย่างดังที่กล่าวไปแล้วนั้น คุณสมบัติอื่นๆ ของสกรู 2 เกรดนี้ เรียกได้ว่า ไม่แตกต่างกันเลย ทั้งการรับแรงกด แรงขัน แรงดึง ความแข็ง
สำหรับสกรูที่ทำมาจากสแตนเลสเกรด SUS-304 นั้น ที่หัวสกรูจะมีปั๊มสัญลักษณ์ A2 (หรือไม่ได้ปั๊ม) ส่วนเกรด SUS-316 จะปั๊มว่า A4
ตัวอย่างสกรูสแตนเลสได้แก่
จึงเห็นได้ว่า การเรียกรูปร่างของสกรูนั้น ก็ใช้วิธีการเดียวกันกับสกรูเหล็ก เพียงแต่ต้องระบุด้วยว่าต้องการแบบสแตนเลสด้วย มิฉะนั้น คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเป็นสกรูเหล็ก
อ่านวิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐานย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
บทที่ 5 - ความแข็งของสกรู
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 5 - ความแข็งของสกรู
หลายๆท่านคงจะทราบกันอยู่แล้วว่า เหล็กนั้นแข็ง และสกรูที่ทำมาจากเหล็กก็ต้องแข็งเหมือนเหล็ก
แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า เหล็กแต่ละท่อนนั้น มีความแข็งที่ไม่เท่ากัน เนื่องมาจากส่วนผสมทางเคมีภายในเหล็กแต่ละท่อนนั้นไม่เหมือนกันนั่นเอง
โดยสกรูที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในบ้านเราก็คือสกรูเหล็กเหนียว หรือ สกรูแข็งเทียม (ไม่แข็งนั่นเอง ^^;) สาเหตุหลักก็เพราะมันถูกที่สุดเมื่อเทียบกับสกรูที่ทำจากเหล็กที่แข็งกว่า
แต่นับวัน จำนวนผู้ใช้สกรูเหล็กเหนียวนั้นจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ใช้เริ่มจะรู้ว่าสกรูเหล็กแข็งนั้นสามารถใช้ได้นานกว่าสกรูเหล็กเหนียวเท่าตัว แต่ราคาแพงกว่าเพียง 30% โดยประมาณ เพราะฉะนั้นจึงหันมาใช้สกรูเหล็กแข็งเพิ่มขึ้นเพราะช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้า (ไม่ต้องไปซื้อบ่อยๆ)
สกรูเหล็กแข็งนั้นมีหลายเกรด แต่ที่นิยมใช้ในบ้านเราก็จะมีหลักๆ แค่ 3 เกรดเท่านั้น คือ
แล้วตัวเลขพวกนี้มีที่มาอย่างไร?
ที่มาที่แท้จริงนั้น ผู้เขียนก็ยังไม่ทราบเช่นกัน หากผู้ใดทราบรบกวนช่วยบอกกล่าวด้วยนะครับ (^_^)
แต่จากที่ดูตาราง Spec ของสกรูแล้ว ทำให้เดาได้ว่า เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงอัตราการรับแรงดึงของสกรู
เช่น
ภาพประกอบ 1
วิธีดูว่าสกรูตัวไหนมีความแข็งเท่าไหร่
สำหรับสกรูหัวหกเหลี่ยมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการปั๊มเกรดอยู่ที่หัวสกรู (Head Marking) ว่าสกรูตัวนี้เกรดเท่าไหร่ เช่น สกรูหัวหกเหลี่ยม 8.8 ก็จะปั๊ม 8.8, สกรูหัวหกเหลี่ยม 10.9 ก็จะปั๊ม 10.9 เช่นนี้
แต่ก็ไม่เสมอไป(อ้าว!? ยุ่งล่ะสิ) เนื่องจากตามมาตรฐานสากลแล้ว การที่จะปั๊มเลขลงบนหัวสกรูนั้นจะใช้กับสกรูที่มีมาตรฐานเป็นเกลียวมิลเท่านั้น ส่วนสกรูที่มีมาตรฐานเป็นเกลียวหุนจะมีการแสดงสัญลักษณ์ที่ต่างออกไป เพราะว่าถ้าเป็นสกรูเหล็กแข็งของเกลียวหุน (UNC, UNF) จะเีรียกเป็น เกรด 5 และ เกรด 8 ตามลำดับ โดยความแข็งของเกรด 5 จะใกล้เคียงกับ 8.8 และ ความแข็งของเกรด 8 จะใกล้เคียงกับ 10.9 (ไม่ได้เท่ากันเป๊ะๆ)
เมื่อเป็นเช่นนี้ หัวของสกรูเหล็กแข็งที่เป็นหุนจะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้แทนเลขเกรด
ภาพประกอบ 2 - สัญลักษณ์ของสกรูเหล็กแข็งเกรด 5 (เทียบเท่า 8.8)
ภาพประกอบ 3 - สัญลักษณ์ของสกรูเหล็กแข็งเกรด 8 (เทียบเท่า 10.9)หลักการดูง่ายๆ ว่าสกรูเกลียวหุนนี้เป็นเกรดไหนก็คือ ถ้าเป็นเกรด 5 ที่หัวจะปั๊ม 3 ขีด และถ้าเป็นเกรด 8 ที่หัวจะปั๊ม 6 ขีด ซึ่งการรูปแบบของขีดที่ปั๊มนี้อาจจะไม่ตรงตามรูปประกอบที่ 2 และ 3 แต่จำนวนของขีดจะต้องตรงตามที่ได้กล่าวไป
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น หลักการที่ว่า ยิ่งเกรดของสกรูยิ่งสูง ยิ่งมีความแข็งมาก ก็ยิ่งดีนั้น ไม่สามารถใช้ได้เสมอไป เนื่องจาก ของที่แข็งมากๆ นั้น ก็จะมีความเปราะมากตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้สกรูที่แข็งมากๆ นั้นไม่ทนทานและแตกหักได้ง่ายกว่าสกรูที่มีความแข็งน้อยกว่า
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นก็คือ
เปรียบสกรูเหล็กแข็ง 12.9 เป็น ไม้หน้าสาม และ เปรียบสกรูเหล็กเหนียว (แข็งเทียม) เป็น เย็ลลี่สติ๊ก
ไม้หน้าสามนั้น สามารถรับน้ำหนัก พาดเป็นคานวางของ หรือเอาไปค้ำยันอะไรต่ออะไรได้ แต่หากเราเอามันไปฟาดกับกำแพงแรงๆ มันก็จะหัก
ในขณะที่หากคุณเอาเยลลี่สติ๊กไปฟาดกับอะไรมันก็ไม่หัก อาจมีการเปลี่ยนรูปร่างไปบ้าง เพียงแต่มันรับแรงไม่ได้ ไม่สามารถวางนำไปพาดแล้ววางสิ่งของไว้บนมันได้
เพราะฉะนั้น การที่เราจะใช้สกรูเกรดใดนั้น ควรที่จะศึกษาดูก่อนว่าต้องการใช้งานมันแบบใด เพื่อที่จะเป็นการเำพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน และยังช่วยลดต้นทุนอันเนื่องมาจากการใช้สินค้าผิดคุณสมบัติอีกด้วย
อ่านวิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐานย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า เหล็กแต่ละท่อนนั้น มีความแข็งที่ไม่เท่ากัน เนื่องมาจากส่วนผสมทางเคมีภายในเหล็กแต่ละท่อนนั้นไม่เหมือนกันนั่นเอง
โดยสกรูที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในบ้านเราก็คือสกรูเหล็กเหนียว หรือ สกรูแข็งเทียม (ไม่แข็งนั่นเอง ^^;) สาเหตุหลักก็เพราะมันถูกที่สุดเมื่อเทียบกับสกรูที่ทำจากเหล็กที่แข็งกว่า
แต่นับวัน จำนวนผู้ใช้สกรูเหล็กเหนียวนั้นจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ใช้เริ่มจะรู้ว่าสกรูเหล็กแข็งนั้นสามารถใช้ได้นานกว่าสกรูเหล็กเหนียวเท่าตัว แต่ราคาแพงกว่าเพียง 30% โดยประมาณ เพราะฉะนั้นจึงหันมาใช้สกรูเหล็กแข็งเพิ่มขึ้นเพราะช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้า (ไม่ต้องไปซื้อบ่อยๆ)
สกรูเหล็กแข็งนั้นมีหลายเกรด แต่ที่นิยมใช้ในบ้านเราก็จะมีหลักๆ แค่ 3 เกรดเท่านั้น คือ
- สกรูเหล็กแข็ง 8.8
- สกรูเหล็กแข็ง 10.9
- สกรูเหล็กแข็ง 12.9
แล้วตัวเลขพวกนี้มีที่มาอย่างไร?
ที่มาที่แท้จริงนั้น ผู้เขียนก็ยังไม่ทราบเช่นกัน หากผู้ใดทราบรบกวนช่วยบอกกล่าวด้วยนะครับ (^_^)
แต่จากที่ดูตาราง Spec ของสกรูแล้ว ทำให้เดาได้ว่า เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงอัตราการรับแรงดึงของสกรู
เช่น
- สกรูหัวหกเหลี่ยมเกรด 8.8 สามารถรับแรงดึงได้ถึง 81.5 กิโลฟอร์ซ/ตารางมิลลิเมตร (หากดึงแรงเกินกว่านี้จะขาด)
- สกรูหัวหกเหลี่ยมเกรด 10.9 สามารถรับแรงดึงได้ถึง 106.0 กิโลฟอร์ซ/ตารางมิลลิเมตร (หากดึงแรงเกินกว่านี้จะขาด)
ภาพประกอบ 1
วิธีดูว่าสกรูตัวไหนมีความแข็งเท่าไหร่
สำหรับสกรูหัวหกเหลี่ยมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการปั๊มเกรดอยู่ที่หัวสกรู (Head Marking) ว่าสกรูตัวนี้เกรดเท่าไหร่ เช่น สกรูหัวหกเหลี่ยม 8.8 ก็จะปั๊ม 8.8, สกรูหัวหกเหลี่ยม 10.9 ก็จะปั๊ม 10.9 เช่นนี้
แต่ก็ไม่เสมอไป(อ้าว!? ยุ่งล่ะสิ) เนื่องจากตามมาตรฐานสากลแล้ว การที่จะปั๊มเลขลงบนหัวสกรูนั้นจะใช้กับสกรูที่มีมาตรฐานเป็นเกลียวมิลเท่านั้น ส่วนสกรูที่มีมาตรฐานเป็นเกลียวหุนจะมีการแสดงสัญลักษณ์ที่ต่างออกไป เพราะว่าถ้าเป็นสกรูเหล็กแข็งของเกลียวหุน (UNC, UNF) จะเีรียกเป็น เกรด 5 และ เกรด 8 ตามลำดับ โดยความแข็งของเกรด 5 จะใกล้เคียงกับ 8.8 และ ความแข็งของเกรด 8 จะใกล้เคียงกับ 10.9 (ไม่ได้เท่ากันเป๊ะๆ)
เมื่อเป็นเช่นนี้ หัวของสกรูเหล็กแข็งที่เป็นหุนจะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้แทนเลขเกรด
ภาพประกอบ 2 - สัญลักษณ์ของสกรูเหล็กแข็งเกรด 5 (เทียบเท่า 8.8)
ภาพประกอบ 3 - สัญลักษณ์ของสกรูเหล็กแข็งเกรด 8 (เทียบเท่า 10.9)หลักการดูง่ายๆ ว่าสกรูเกลียวหุนนี้เป็นเกรดไหนก็คือ ถ้าเป็นเกรด 5 ที่หัวจะปั๊ม 3 ขีด และถ้าเป็นเกรด 8 ที่หัวจะปั๊ม 6 ขีด ซึ่งการรูปแบบของขีดที่ปั๊มนี้อาจจะไม่ตรงตามรูปประกอบที่ 2 และ 3 แต่จำนวนของขีดจะต้องตรงตามที่ได้กล่าวไป
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น หลักการที่ว่า ยิ่งเกรดของสกรูยิ่งสูง ยิ่งมีความแข็งมาก ก็ยิ่งดีนั้น ไม่สามารถใช้ได้เสมอไป เนื่องจาก ของที่แข็งมากๆ นั้น ก็จะมีความเปราะมากตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้สกรูที่แข็งมากๆ นั้นไม่ทนทานและแตกหักได้ง่ายกว่าสกรูที่มีความแข็งน้อยกว่า
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นก็คือ
เปรียบสกรูเหล็กแข็ง 12.9 เป็น ไม้หน้าสาม และ เปรียบสกรูเหล็กเหนียว (แข็งเทียม) เป็น เย็ลลี่สติ๊ก
ไม้หน้าสามนั้น สามารถรับน้ำหนัก พาดเป็นคานวางของ หรือเอาไปค้ำยันอะไรต่ออะไรได้ แต่หากเราเอามันไปฟาดกับกำแพงแรงๆ มันก็จะหัก
ในขณะที่หากคุณเอาเยลลี่สติ๊กไปฟาดกับอะไรมันก็ไม่หัก อาจมีการเปลี่ยนรูปร่างไปบ้าง เพียงแต่มันรับแรงไม่ได้ ไม่สามารถวางนำไปพาดแล้ววางสิ่งของไว้บนมันได้
เพราะฉะนั้น การที่เราจะใช้สกรูเกรดใดนั้น ควรที่จะศึกษาดูก่อนว่าต้องการใช้งานมันแบบใด เพื่อที่จะเป็นการเำพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน และยังช่วยลดต้นทุนอันเนื่องมาจากการใช้สินค้าผิดคุณสมบัติอีกด้วย
อ่านวิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐานย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Beware!! Full Thread Stud Bar from China Goodni Fasteners
ภาษาไทย
Prefix:
This article have been written for warning and giving the additional awareness to the people who are looking for the opportunity to do the business with chinese.
We guarantee that these disqualified stuffs, which will be shown in this article, will not be reached our customer's hands.
China Goodni Industrial Co., Ltd. (or Goodni Fasteners) is the stud bolt manufacturer in Republic of China (Mainland China)
During 2009, CEO of L.S.T. Group joined the Guangzhou fair in Guangzhou, China. And have a chance to visit the exhibition boots of China Goodni Industrial
We had taken some glance on their exhibit stuffs and all of them were looking good (straight & nice thread) and the offering price is better than the other supplier that company used to order before.
When we return to Thailand, we sent them the Enquiry No. 2009101502 on 15th Oct. 2009 to Goodni by E-mail
17th Oct 2009, Goodni sent us their quotation.
Till 26th Oct 2009, We and Goodni got the dealed then they send us the P/I No. YG091026A to confirm the order. We signed and sent back to them on that day.
The chosen payment condition is by Letter Of Credit (L/C) to make sure that we will get the products for sure.
1st Jan. 2010, we had been informed from Goodni that the products are ready to ship together with the shipping document attached. (figure 1)
figure 1
The products had arrived on 15th January 2010 and reach our warehouse on 16th January 2010
With the shocking, when our staffs saw the products, the thread quality of these full thread studs are terrible and some of them are bending (Full Thread Stud must be straight) (figure 2-6)
Figure 2-6
Bending and bad thread quality of the stud bolts will effect their tensile & proof load for sure. So now they transform from the "fasteners products" to "scrap iron". Because it's too risky to let our customer use it.
So we sent the photos (figure 2-6) to Goodni, and negotiate with them to re-produce the standard products for us and we will send these defect items back to them. But they kept silence till now.
Then we decide to contact the Chinese Embassy in Bangkok to ask for their help. But the conclusion is we have to make a prosecution to the Goodni to bring our money back. And we found that it's not worthy for us, so we decide not to make a prosecution to them
We didn't say that all of the Chinese Company will do the business like Goodni. Actually, many of Chinese businessmen who do the business morally and you could get the good quality products from them.
But we just want to warn everyone that if you want to establish the business relationship with Chinese, you should visit their factory or warehouse once, to see the products by yourself if the quality is according to your require standard or not.
Written by L.S.T. Group - Bolts, Nuts & Fasteners wholesaler and retailer
Prefix:
This article have been written for warning and giving the additional awareness to the people who are looking for the opportunity to do the business with chinese.
We guarantee that these disqualified stuffs, which will be shown in this article, will not be reached our customer's hands.
China Goodni Industrial Co., Ltd. (or Goodni Fasteners) is the stud bolt manufacturer in Republic of China (Mainland China)
During 2009, CEO of L.S.T. Group joined the Guangzhou fair in Guangzhou, China. And have a chance to visit the exhibition boots of China Goodni Industrial
We had taken some glance on their exhibit stuffs and all of them were looking good (straight & nice thread) and the offering price is better than the other supplier that company used to order before.
When we return to Thailand, we sent them the Enquiry No. 2009101502 on 15th Oct. 2009 to Goodni by E-mail
17th Oct 2009, Goodni sent us their quotation.
Till 26th Oct 2009, We and Goodni got the dealed then they send us the P/I No. YG091026A to confirm the order. We signed and sent back to them on that day.
The chosen payment condition is by Letter Of Credit (L/C) to make sure that we will get the products for sure.
1st Jan. 2010, we had been informed from Goodni that the products are ready to ship together with the shipping document attached. (figure 1)
figure 1
The products had arrived on 15th January 2010 and reach our warehouse on 16th January 2010
With the shocking, when our staffs saw the products, the thread quality of these full thread studs are terrible and some of them are bending (Full Thread Stud must be straight) (figure 2-6)
Figure 2-6
Bending and bad thread quality of the stud bolts will effect their tensile & proof load for sure. So now they transform from the "fasteners products" to "scrap iron". Because it's too risky to let our customer use it.
So we sent the photos (figure 2-6) to Goodni, and negotiate with them to re-produce the standard products for us and we will send these defect items back to them. But they kept silence till now.
Then we decide to contact the Chinese Embassy in Bangkok to ask for their help. But the conclusion is we have to make a prosecution to the Goodni to bring our money back. And we found that it's not worthy for us, so we decide not to make a prosecution to them
We didn't say that all of the Chinese Company will do the business like Goodni. Actually, many of Chinese businessmen who do the business morally and you could get the good quality products from them.
But we just want to warn everyone that if you want to establish the business relationship with Chinese, you should visit their factory or warehouse once, to see the products by yourself if the quality is according to your require standard or not.
Written by L.S.T. Group - Bolts, Nuts & Fasteners wholesaler and retailer
วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ระวัง!! China Goodni Industrail - ภัยสินค้าราคาถูกจากเมืองจีน
English
คำนำ:
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นกรณีศึกษาแก่ผู้ที่จะลงทุนทำธุรกิจกับประเทศจีน และ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่บริษัท
โดยบริษัทขอรับรองว่า สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลนั้น จะไม่มีวันส่งถึงมือลูกค้าของบริษัทเป็นอันขาด
China Goodni Industrial Co., Ltd. คือผู้ผลิต Stud Bolt มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศจีน
เมื่อปี 2009 ผู้บริหารของ L.S.T. Group ได้เดินทางไปชมงานมหกรรมแสดงสินค้ากวางเจาแฟร์ ที่เมืองกวางเจาประเทศจีน และได้เยี่ยมชมบู๊ทแสดงสินค้าของ China Goodni Industrial
จากสินค้าที่ทาง Goodni ได้นำมาแสดงนั้น ดูมีคุณภาพตามมาตรฐานทั่วๆไป (เส้นตรง เกลียวสวย ขันกับหัวน็อตได้ลื่นไม่ติดขัด) และราคานั้นสามารถเสนอได้ถูกกว่า Supplier อื่นๆ ที่ทางบริษัทเคยสั่งซื้อสินค้ามา
เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย L.S.T. Group จึงได้ส่งใบสอบราคา Enquiry (2009101502) ไปให้กับทาง Goodni เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2009
จากนั้นทาง Goodni ได้ส่งใบเสนอราคากลับมาให้วันที่ 17 ตุลาคม 2009
จนถึงวันที่ 26 ตุลาคม 2009 เรากับทาง Goodni ได้ตกลงราคากันเป็นที่เรียบร้อยและตัดสินใจที่จะสั่งซื้อจึงได้ทำการเซ็นต์ Confirm P/I กลับไป
โดยเงื่อนไขการชำระเงินคือเปิด L/C เพื่อความมั่นใจว่าจะได้สินค้าแน่นอน
เมื่อถึงวันที่ 1 มกราคา 2010 ทาง Goodni ได้แจ้งเรามาว่า สินค้าเตรียมที่จะลงเรือแล้ว พร้อมกับส่งเอกสารยืนยันมาให้ (ภาพประกอบ 1)
ภาพประกอบ 1
และสินค้าก็เดินทางมาถึงวันที่ 15 มกราคม 2010 เมื่อผ่านกระบวนการออกสินค้าที่ท่าเรือแล้วเราก็ได้สินค้าเข้าที่โกดังวันที่ 16 มกราคม 2010
เมื่อพนักงานเราเห็นสินค้าก็ถึงกับตะลึง เนื่องจากว่า เกลียวของสตัดนั้น มีคุณมาแย่มากๆ รวมทั้งสตัดเหล่านั้นยังโค้งงออีกด้วย (ภาพประกอบ 2-6)
(รูปประกอบ 2-6)
ความโค้งการบิ่นของเกลียวนั้นจะส่งผลต่อการรับน้ำหนักและแรงดึงของสตัดไม่มากก็น้อย ซึ่งเราไม่สามารถที่จะเสี่ยงขายให้ลูกค้าได้
เราจึงทำการส่ง E-mail พร้อมกับรูปถ่าย (ตามภาพประกอบ 2-6) ไปหา Goodni เพื่อเจรจาว่าให้ผลิตสินค้าให้เราใหม่ แล้วเราจะส่งสินค้าล็อตนี้กลับไปให้ แต่กลับพบแต่ความเงียบ ไม่มีการตอบสนองใดๆ กลับมา
ซึ่งตอนนี้เราก็คงได้แต่ทำใจ และรอจังหวะเพื่อขายสินค้าเหล่านี้เป็นเศษเหล็กต่อไป T^T
มิใช่ว่าเราจะกล่าวหาว่าผู้ทำธุรกิจในจีนเป็นเช่นนี้เหมือนกันหมด ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีจำนวนไม่น้อยที่ทำธุรกิจอย่างเป็นธรรมและตรงไปตรงมา ได้สินค้าที่มีคุณภาพสมกับราคาที่ตั้งไว้
เพียงแต่อยากจะขอเตือนทุกๆ คน ว่าหากจะทำการค้ากับประเทศจีน ควรต้องศึกษาและไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน ถ้าจะให้ดี ต้องเข้าไปดูถึงโรงงาน หรือสถานที่ปฏิบัติงานจริงของเค้าเลย เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า สินค้าที่จะได้มานั้น ตรงตามมาตรฐานที่ต้องการจริงๆ
สนับสนุนโดย L.S.T. Group - ผู้ผลิตและจำหน่ายสกรูน็อตและสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
คำนำ:
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นกรณีศึกษาแก่ผู้ที่จะลงทุนทำธุรกิจกับประเทศจีน และ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่บริษัท
โดยบริษัทขอรับรองว่า สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลนั้น จะไม่มีวันส่งถึงมือลูกค้าของบริษัทเป็นอันขาด
China Goodni Industrial Co., Ltd. คือผู้ผลิต Stud Bolt มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศจีน
เมื่อปี 2009 ผู้บริหารของ L.S.T. Group ได้เดินทางไปชมงานมหกรรมแสดงสินค้ากวางเจาแฟร์ ที่เมืองกวางเจาประเทศจีน และได้เยี่ยมชมบู๊ทแสดงสินค้าของ China Goodni Industrial
จากสินค้าที่ทาง Goodni ได้นำมาแสดงนั้น ดูมีคุณภาพตามมาตรฐานทั่วๆไป (เส้นตรง เกลียวสวย ขันกับหัวน็อตได้ลื่นไม่ติดขัด) และราคานั้นสามารถเสนอได้ถูกกว่า Supplier อื่นๆ ที่ทางบริษัทเคยสั่งซื้อสินค้ามา
เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย L.S.T. Group จึงได้ส่งใบสอบราคา Enquiry (2009101502) ไปให้กับทาง Goodni เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2009
จากนั้นทาง Goodni ได้ส่งใบเสนอราคากลับมาให้วันที่ 17 ตุลาคม 2009
จนถึงวันที่ 26 ตุลาคม 2009 เรากับทาง Goodni ได้ตกลงราคากันเป็นที่เรียบร้อยและตัดสินใจที่จะสั่งซื้อจึงได้ทำการเซ็นต์ Confirm P/I กลับไป
โดยเงื่อนไขการชำระเงินคือเปิด L/C เพื่อความมั่นใจว่าจะได้สินค้าแน่นอน
เมื่อถึงวันที่ 1 มกราคา 2010 ทาง Goodni ได้แจ้งเรามาว่า สินค้าเตรียมที่จะลงเรือแล้ว พร้อมกับส่งเอกสารยืนยันมาให้ (ภาพประกอบ 1)
ภาพประกอบ 1
และสินค้าก็เดินทางมาถึงวันที่ 15 มกราคม 2010 เมื่อผ่านกระบวนการออกสินค้าที่ท่าเรือแล้วเราก็ได้สินค้าเข้าที่โกดังวันที่ 16 มกราคม 2010
เมื่อพนักงานเราเห็นสินค้าก็ถึงกับตะลึง เนื่องจากว่า เกลียวของสตัดนั้น มีคุณมาแย่มากๆ รวมทั้งสตัดเหล่านั้นยังโค้งงออีกด้วย (ภาพประกอบ 2-6)
(รูปประกอบ 2-6)
ความโค้งการบิ่นของเกลียวนั้นจะส่งผลต่อการรับน้ำหนักและแรงดึงของสตัดไม่มากก็น้อย ซึ่งเราไม่สามารถที่จะเสี่ยงขายให้ลูกค้าได้
เราจึงทำการส่ง E-mail พร้อมกับรูปถ่าย (ตามภาพประกอบ 2-6) ไปหา Goodni เพื่อเจรจาว่าให้ผลิตสินค้าให้เราใหม่ แล้วเราจะส่งสินค้าล็อตนี้กลับไปให้ แต่กลับพบแต่ความเงียบ ไม่มีการตอบสนองใดๆ กลับมา
ซึ่งตอนนี้เราก็คงได้แต่ทำใจ และรอจังหวะเพื่อขายสินค้าเหล่านี้เป็นเศษเหล็กต่อไป T^T
มิใช่ว่าเราจะกล่าวหาว่าผู้ทำธุรกิจในจีนเป็นเช่นนี้เหมือนกันหมด ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีจำนวนไม่น้อยที่ทำธุรกิจอย่างเป็นธรรมและตรงไปตรงมา ได้สินค้าที่มีคุณภาพสมกับราคาที่ตั้งไว้
เพียงแต่อยากจะขอเตือนทุกๆ คน ว่าหากจะทำการค้ากับประเทศจีน ควรต้องศึกษาและไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน ถ้าจะให้ดี ต้องเข้าไปดูถึงโรงงาน หรือสถานที่ปฏิบัติงานจริงของเค้าเลย เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า สินค้าที่จะได้มานั้น ตรงตามมาตรฐานที่ต้องการจริงๆ
สนับสนุนโดย L.S.T. Group - ผู้ผลิตและจำหน่ายสกรูน็อตและสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
ก่อนจะอ่านบทความนี้ กรุณาอ่าน บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1) ก่อนนะครับ
ครั้งนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของ ความหยาบ และ ละเอียดของเกลียว
Q: เกลียวหยาบคืออะไร?
A: เกลียวหยาบก็คือ เกลียวที่มี พิทช์ หรือ ระยะห่างเกลียว มากกว่า เกลียวละเอียด
Q: ยังไม่ค่อยเก็ทเท่าไหร่
A: งั้นยกตัวอย่างดีกว่า
ถ้าสกรูยาว 100mm แล้วมี pitch ของเกลียว 2.5mm สกรูตัวนั้นก็จะมีทั้งหมด 40 เกลียว (100 หาร 2.5)
แล้วถ้าสกรูที่ยาวเท่ากัน แต่มี pitch ของเกลียว 1.5mm สกรูตัวนั้นก็จะมีทั้งหมดประมาณ 66 เกลียว
ก็จะเห็นได้ว่าสกรูที่มี 66 เกลียวนั้น ละเอียดกว่าสกรูที่มี 40 เกลียว ถูกต้องมั๊ยครับ?
Q: อืม... พอจะเก็ทละ (มั๊ง) แล้วระยะเกลียวพวกนี้มันตายตัวมั๊ยอะ?
A: ตายตัวตามมาตรฐานครับ เช่น สกรู M20 ก็จะมีเกลียวหยาบที่ 2.5 และเกลียวละเอียดที่ 1.5 ครับ
Q: อ้อ ก็หมายความว่า ถ้าเรารู้ว่าเราอยากได้สกรู M20 เกลียวหยาบ ก็บอกแค่นี้ก็ได้ใช่มั๊ย? ไม่ต้องบอกถึง 2.5 ก็ได้ใช่รึเปล่า?
A: ใช่แล้วครับ (แต่ถ้าจะให้ดี บอกด้วยจะชัวร์กว่านะ ^^;)
Q: แล้วหุนก็ใช้แบบนี้เหมือนกันรึเปล่า?
A: ไม่ใช่ครับ หุนจะไม่ใช้ระยะ Pitch ครับ
Q: อ้าว!? งั้นก็เรียกแค่เกลียวหยาบ เกลียวละเอียดแค่นี้เหรอ
A: จะเรียกแค่นั้นก็ได้ครับ แต่ถ้าจะให้ดีควรรู้หลักนิดนึงจะได้สกรูที่ตรงตามความต้องการที่แท้จริง
ครั้งนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของ ความหยาบ และ ละเอียดของเกลียว
Q: เกลียวหยาบคืออะไร?
A: เกลียวหยาบก็คือ เกลียวที่มี พิทช์ หรือ ระยะห่างเกลียว มากกว่า เกลียวละเอียด
Q: ยังไม่ค่อยเก็ทเท่าไหร่
A: งั้นยกตัวอย่างดีกว่า
ถ้าสกรูยาว 100mm แล้วมี pitch ของเกลียว 2.5mm สกรูตัวนั้นก็จะมีทั้งหมด 40 เกลียว (100 หาร 2.5)
แล้วถ้าสกรูที่ยาวเท่ากัน แต่มี pitch ของเกลียว 1.5mm สกรูตัวนั้นก็จะมีทั้งหมดประมาณ 66 เกลียว
ก็จะเห็นได้ว่าสกรูที่มี 66 เกลียวนั้น ละเอียดกว่าสกรูที่มี 40 เกลียว ถูกต้องมั๊ยครับ?
Q: อืม... พอจะเก็ทละ (มั๊ง) แล้วระยะเกลียวพวกนี้มันตายตัวมั๊ยอะ?
A: ตายตัวตามมาตรฐานครับ เช่น สกรู M20 ก็จะมีเกลียวหยาบที่ 2.5 และเกลียวละเอียดที่ 1.5 ครับ
Q: อ้อ ก็หมายความว่า ถ้าเรารู้ว่าเราอยากได้สกรู M20 เกลียวหยาบ ก็บอกแค่นี้ก็ได้ใช่มั๊ย? ไม่ต้องบอกถึง 2.5 ก็ได้ใช่รึเปล่า?
A: ใช่แล้วครับ (แต่ถ้าจะให้ดี บอกด้วยจะชัวร์กว่านะ ^^;)
Q: แล้วหุนก็ใช้แบบนี้เหมือนกันรึเปล่า?
A: ไม่ใช่ครับ หุนจะไม่ใช้ระยะ Pitch ครับ
Q: อ้าว!? งั้นก็เรียกแค่เกลียวหยาบ เกลียวละเอียดแค่นี้เหรอ
A: จะเรียกแค่นั้นก็ได้ครับ แต่ถ้าจะให้ดีควรรู้หลักนิดนึงจะได้สกรูที่ตรงตามความต้องการที่แท้จริง
Q: อะ ว่ามา
A: เอาเฉพาะที่นิยมแล้วกันนะครับ
เกลียวหุนแบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลักๆ
- UNC (Unified National Coarse) เรียกสั้นๆ ว่า เกลียว NC
- UNF (Unified National Fine) เรียกสั้นๆ ว่า เกลียว NF
- BSW (British Standard Whitworth) ไม่มีเรียกสั้นๆ ^^;
Q: แล้วอันไหนหยาบ อันไหนละเอียด?
A: เกลียว UNC กับ BSW จะเป็นเกลียวหยาบ ส่วน UNF จะเป็นเกลียวละเอียดครับ
Q: งั้น UNC กับ BSW ก็ใช้ด้วยกันได้สิ
A: ไม่ได้ครับ ระยะ Pitch ของเกลียวจะต่างกันอยู่นิดหน่อย ทำให้ใช้ด้วยกันไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นเกลียวหยาบเหมือนกัน
Q: แล้วคนอังกฤษเค้าไม่ใช้เกลียวละเอียดกันเหรอ?
A: ใช้ครับ นั่นคือเกลียว BSF แต่ไม่เป็นที่นิยมในบ้านเรา จึงแทบไม่มีใครรู้จัก
Q: แล้วที่ว่าการเรียกเกลียวของหุนนั้นไม่ใช้ระยะ Pitch หมายความว่ายังงัย?
A: สำหรับเกลียวหุนนั้นจะวัดกันที่ ความยาว 1 นิ้วจะมีอยู่กี่เกลียว เช่น สำหรับมาตรฐาน NC สกรูที่โต 1/2" (4 หุน) จะมีอยู่ 13 เกลียว ก็จะเรียกว่า 13 เกลียวนิ้ว
Q: เวลาเขียนก็จะเป็น 1/2" X 1" 13 เกลียวนิ้ว แบบนี้เหรอ?
A: ไม่ใช่ครับ ต้องเขียน 1/2"-13NC X 1" แบบนี้ครับ
คาดว่าคงจะพอเข้าใจการเรียกเกลียวแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณจะเรียกสกรูในมือของคุณ อย่าลืมใส่เกลียว (ไม่ใช่ยิมนาสติกนะ ^^;) เข้าไปด้วยนะครับ
ตัวอย่าง:
แล้วบทต่อไปเราจะมาเรียนรู้ถึงความแข็งของสกรูกันว่า อะไรคือ 8.8, 10.9, 12.9, แข็งแท้, แข็งเทียม
อ่านบทความก่อนหน้า
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)
หากท่านเป็นมือใหม่เรื่องสกรู เราแนะนำให้ท่านอ่านบทที่ 1 และ บทที่ 2 ก่อนนะครับ
เอาล่ะครับ มาถึงเรื่องเกลียวกันแล้ว
อย่างที่ว่าไว้ในบทที่ 2 คือการเรียกขนาดของสกรูนั้นมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ระบบมิล (Metrics) และ ระบบหุน (Unified) ซึ่งก็จะสอดคล้องกับเกลียวของสกรู เนื่องจากเกลียวของทั้ง 2 ระบบนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้
ทำความรู้จักกับส่วนประกอบของเกลียวกันก่อน
รูปประกอบ 1
เนื่องจากเราเป็นขั้นพื้นฐาน เราคงไม่ต้องลงลึกขนาดพวก Crest, Helix Angle, Axis of Screw หรือ Included Angle แต่ศัพท์ที่อยากให้รู้จักกันไว้คือ "Pitch(ระยะเกลียว)"
Pitch คืออะไร?
Pitch (อ่านว่า พิทช์) นั้นก็คือระยะห่างระหว่างเกลียว โดยวัดจากยอดฟันของเกลียว (Crest) โดยจะเห็นได้จาก รูปประกอบ 1
โดยระยะพิทช์ของระบบเกลียวมิลและหุนนั้นไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจะเป็นขนาดที่ใกล้เคียงกันมากอย่าง M3 กับ 1/8"(เท่ากับ 3.175 มิล) ก็ตามที
การที่พิทช์ไม่ท่ากันนั้น ทำให้เกลียวไม่สามารถขันไปตามร่องเกลียวได้ (ให้นึกภาพเวลาที่สกรู (น็อตตัวผู้) ขันเข้ากับ หัวน็อต (น็อตตัวเมีย)) จึงนับเป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องรู้ว่าสกรูที่เราจะใช้นั้นเป็นระบบมิล หรือ หุน
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เราต้องการเป็นเกลียวมิลหรือหุน?
วิธีที่ชัวร์ที่สุดว่าสกรูที่เราถืออยู่ในมือนั้นเป็นเกลียวอะไรก็คือใช้หัวน็อตที่มีขนาดเดียวกันแล้วรู้ว่าหัวน็อตตัวนั้นคือเกลียวอะไรมาขันกันดู ถ้าขันกันเข้าก็แปลว่าเป็นเกลียวเดียวกันกับหัวน็อตตัวนั้น แต่ถ้าขันไปแล้วติดก็แปลว่าเป็นคนละมาตรฐานกัน
เอาล่ะครับ มาถึงเรื่องเกลียวกันแล้ว
อย่างที่ว่าไว้ในบทที่ 2 คือการเรียกขนาดของสกรูนั้นมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ระบบมิล (Metrics) และ ระบบหุน (Unified) ซึ่งก็จะสอดคล้องกับเกลียวของสกรู เนื่องจากเกลียวของทั้ง 2 ระบบนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้
ทำความรู้จักกับส่วนประกอบของเกลียวกันก่อน
รูปประกอบ 1
เนื่องจากเราเป็นขั้นพื้นฐาน เราคงไม่ต้องลงลึกขนาดพวก Crest, Helix Angle, Axis of Screw หรือ Included Angle แต่ศัพท์ที่อยากให้รู้จักกันไว้คือ "Pitch(ระยะเกลียว)"
Pitch คืออะไร?
Pitch (อ่านว่า พิทช์) นั้นก็คือระยะห่างระหว่างเกลียว โดยวัดจากยอดฟันของเกลียว (Crest) โดยจะเห็นได้จาก รูปประกอบ 1
โดยระยะพิทช์ของระบบเกลียวมิลและหุนนั้นไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจะเป็นขนาดที่ใกล้เคียงกันมากอย่าง M3 กับ 1/8"(เท่ากับ 3.175 มิล) ก็ตามที
การที่พิทช์ไม่ท่ากันนั้น ทำให้เกลียวไม่สามารถขันไปตามร่องเกลียวได้ (ให้นึกภาพเวลาที่สกรู (น็อตตัวผู้) ขันเข้ากับ หัวน็อต (น็อตตัวเมีย)) จึงนับเป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องรู้ว่าสกรูที่เราจะใช้นั้นเป็นระบบมิล หรือ หุน
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เราต้องการเป็นเกลียวมิลหรือหุน?
วิธีที่ชัวร์ที่สุดว่าสกรูที่เราถืออยู่ในมือนั้นเป็นเกลียวอะไรก็คือใช้หัวน็อตที่มีขนาดเดียวกันแล้วรู้ว่าหัวน็อตตัวนั้นคือเกลียวอะไรมาขันกันดู ถ้าขันกันเข้าก็แปลว่าเป็นเกลียวเดียวกันกับหัวน็อตตัวนั้น แต่ถ้าขันไปแล้วติดก็แปลว่าเป็นคนละมาตรฐานกัน
แต่ถ้าไม่มีหัวน็อตให้ลอง อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในการวัดพิทช์ของเกลียวก็คือ "หวีเกลียว (Pitch Gauge)" (รูปประกอบ 2) ในการวัด ซึ่งหากหวีเกลียวเบอร์ไหนทาบลงบนเกลียวแล้วแนบสนิทพอดี ก็ถือว่าเกลียวนั้นมีระยะเกลียวตามที่ระบุไว้บนหวีเกลียวนั่นเอง (รูปประกอบ 3)
รูปประกอบ 2
รูปประกอบ 3
โดยหวีเกลียวนั้นจะแบ่งออกเป็นหวีเกลียวสำหรับมิลและหุนอยู่แล้ว ทำให้เข้าใจได้ไม่ยากนักว่า ที่ทาบลงไปนั้นเป็นเกลียวประเภทไหน
แต่ถ้าไม่มีหวีเกลียวจริงๆ ต้องใช้ประสบการณ์เท่านั้นครับ โดยหลักการแล้ว เกลียวมิลนั้นจะละเอียดกว่าเกลียวหุนสำหรับสกรูขนาดเดียวกัน แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นอย่างอื่นอีก ทำให้ไม่สามารถบอกได้ด้วยสายตา 100% ยกเว้นว่าเซียนจริงๆ ^^;
ไว้จะมาต่อเรื่องมาตรฐานของเกลียวในบทต่อไปนะครับ ว่าที่เค้าเรียกๆ กันว่า เกลียวหยาบ, ละเอียด, NC, NF และ BSW นั้นคือเกลียวอะไรกันแน่
อ่านบทความย้อนหลังของ "วิธีการเรียกสกรูขึ้นพื้นฐาน"
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
สนับสนุนโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่ง สกรูน็อตและสลักภัณฑ์ทุกชนิด
รูปประกอบ 2
รูปประกอบ 3
โดยหวีเกลียวนั้นจะแบ่งออกเป็นหวีเกลียวสำหรับมิลและหุนอยู่แล้ว ทำให้เข้าใจได้ไม่ยากนักว่า ที่ทาบลงไปนั้นเป็นเกลียวประเภทไหน
แต่ถ้าไม่มีหวีเกลียวจริงๆ ต้องใช้ประสบการณ์เท่านั้นครับ โดยหลักการแล้ว เกลียวมิลนั้นจะละเอียดกว่าเกลียวหุนสำหรับสกรูขนาดเดียวกัน แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นอย่างอื่นอีก ทำให้ไม่สามารถบอกได้ด้วยสายตา 100% ยกเว้นว่าเซียนจริงๆ ^^;
ไว้จะมาต่อเรื่องมาตรฐานของเกลียวในบทต่อไปนะครับ ว่าที่เค้าเรียกๆ กันว่า เกลียวหยาบ, ละเอียด, NC, NF และ BSW นั้นคือเกลียวอะไรกันแน่
อ่านบทความย้อนหลังของ "วิธีการเรียกสกรูขึ้นพื้นฐาน"
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
สนับสนุนโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่ง สกรูน็อตและสลักภัณฑ์ทุกชนิด
วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วิธีการเรียกสกรู ขั้นพื้นฐาน บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
มาต่อกันที่บทที่ 2 นะครับ (อ่านบทที่ 1 - รูปร่างของสกรู ได้ที่นี่)
หลังจากที่เราได้วิธีการเรียกสกรูตามรูปร่างที่เราต้องการแล้ว เราก็ต้องระบุขนาดเพื่อให้ผู้อื่นทราบว่า เราต้องการสกรูขนาดใด เพราะสกรูนั้นมีหลากหลายมาก
วิธีการเรียกขนาดสกรู
การเรียกขนาดของสกรูแบบสากลนั้น จะเรียกความโตของลำตัวมาก่อน แล้วจึงตามด้วยความยาวของลำตัว (จะไม่นิยมเรียกความโตของหัว)
ตัวอย่าง:
สมมติว่า สกรูตัวนี้มีความโต 16 มิลลิเมตร และยาว 80 มิลลิเมตร ก็จะเรียกว่า M16 X 80
และถ้าจะเรียกให้เต็มยศก็คือ สกรูหัวหกเหลี่ยมเกลียวครึ่ง M16 X 80
หน่วยการวัดขนาด:
หน่วยของการวัดขนาดสกรูนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ มิล (Metrics) กับ หุน หรือ นิ้ว (Unified)
การเรียกหน่วยมิล:
การเรียกเป็นมิลนั้น เป็นอะไรที่เข้าใจง่ายที่สุด เพราะแค่เอาไม้บรรทัดทาบดูก็รู้แล้วว่า สกรูตัวนี้อ้วนกี่มิล แล้วก็ยาวกี่มิล
แต่ที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยนั้น มักจะเกิดกับสกรูเกลียวหุน หรือเกลียวนิ้ว
มารู้จักกับหน่วยหุนกันเถอะ:
Q: 1 นิ้วมีกี่หุน?
A: 1 นิ้วมี 8 หุนครับ
Q: งั้น 1/8" ก็คือ 1 หุนใช่มั๊ย?
A: ใช่ครับ
Q: แล้วทำไม 2 หุนถึงเขียนว่า 1/4" ไม่เขียน 2/8" ล่ะ?
A: เพราะตามหลักคณิตศาสตร์แล้ว ถ้าเศษส่วนทอนกันได้ ก็จะทอนกันออกครับ จาก 2/8" หารด้วย 2 ทั้งเศษและส่วน ก็จะกลายเป็น 1/4" โดยสามารถแจงรายละเอียดออกได้ดังนี้
A: อย่างเช่น 1 หุนครึ่ง ถ้าเขียนแบบทื่อๆเลยก็จะเป็น 1.5/8" ซึ่งอาจทำให้ดูไม่สวย หรือถ้าเขียนติดๆกันจะดูยาก เค้าเลยคูณ 2 เข้าไปทั้งเศษและส่วน กลายเป็น 3/16"
Q: 1 นิ้วเท่ากับกี่มิล?
A: 1 นิ้วเท่ากับ 25.4 มิล
Q: งั้น 1 หุนจะเท่ากับกี่มิลกันล่ะ?
A: ก็เอา 25.4 หารด้วย 8 ก็จะได้ 3.175 มิลครับ
Q: เวลาเรียกขนาดก็เหมือนกับมิลใช่มั๊ย ที่ต้องเอาความอ้วน X ความยาว
A: ใช่ครับ เช่น 1/4" X 2-1/2" ก็คือ เกลียวอ้วน 2 หุน ความยาวใต้หัว 2 นิ้วครึ่ง นั่นเอง
Q: ถ้าเราวัดออกมาเป็นมิล แล้วเราจะซื้อสกรูที่เค้าระบุเป็นหุนมาใช้ได้หรือไม่?
A: ไม่ได้ครับ เพราะเกลียวของสกรูมาตรฐานหุนกับมิลนั้น ขันกันไม่ได้
Q: อ้าว!? แล้วจะรู้ได้ยังงัยว่าที่วัดมาม้นเป็นหุนหรือมิล
A: รออ่านบทที่ 3 ครับ ^^;
Q: -*-
สนับสนุนโดย: L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่ง สกรูน็อตและสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
หลังจากที่เราได้วิธีการเรียกสกรูตามรูปร่างที่เราต้องการแล้ว เราก็ต้องระบุขนาดเพื่อให้ผู้อื่นทราบว่า เราต้องการสกรูขนาดใด เพราะสกรูนั้นมีหลากหลายมาก
วิธีการเรียกขนาดสกรู
การเรียกขนาดของสกรูแบบสากลนั้น จะเรียกความโตของลำตัวมาก่อน แล้วจึงตามด้วยความยาวของลำตัว (จะไม่นิยมเรียกความโตของหัว)
ตัวอย่าง:
รูปอ้างอิง 1
จากรูปอ้างอิง 1 การเรียกความโตนั้นก็คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ D และความยาวนั้นจะเป็นความยาวของ Lสมมติว่า สกรูตัวนี้มีความโต 16 มิลลิเมตร และยาว 80 มิลลิเมตร ก็จะเรียกว่า M16 X 80
และถ้าจะเรียกให้เต็มยศก็คือ สกรูหัวหกเหลี่ยมเกลียวครึ่ง M16 X 80
หน่วยการวัดขนาด:
หน่วยของการวัดขนาดสกรูนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ มิล (Metrics) กับ หุน หรือ นิ้ว (Unified)
การเรียกหน่วยมิล:
การเรียกเป็นมิลนั้น เป็นอะไรที่เข้าใจง่ายที่สุด เพราะแค่เอาไม้บรรทัดทาบดูก็รู้แล้วว่า สกรูตัวนี้อ้วนกี่มิล แล้วก็ยาวกี่มิล
แต่ที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยนั้น มักจะเกิดกับสกรูเกลียวหุน หรือเกลียวนิ้ว
มารู้จักกับหน่วยหุนกันเถอะ:
Q: 1 นิ้วมีกี่หุน?
A: 1 นิ้วมี 8 หุนครับ
Q: งั้น 1/8" ก็คือ 1 หุนใช่มั๊ย?
A: ใช่ครับ
Q: แล้วทำไม 2 หุนถึงเขียนว่า 1/4" ไม่เขียน 2/8" ล่ะ?
A: เพราะตามหลักคณิตศาสตร์แล้ว ถ้าเศษส่วนทอนกันได้ ก็จะทอนกันออกครับ จาก 2/8" หารด้วย 2 ทั้งเศษและส่วน ก็จะกลายเป็น 1/4" โดยสามารถแจงรายละเอียดออกได้ดังนี้
- 1/8" = 1 หุน
- 3/16" = หุนครึ่ง
- 1/4" = 2 หุน
- 5/16" = 2 หุนครึ่ง
- 3/8" = 3 หุน
- 7/16" = 3 หุนครึ่ง
- 1/2" = 4 หุน
- 9/16" = 4 หุนครึ่ง
- 5/8" = 5 หุน
- 11/16" = 5 หุนครึ่ง
- 3/4" = 6 หุน
- 13/16" = 6 หุนครึ่ง
- 7/8" = 7 หุน
- 15/16" 7 หุนครึ่ง
- 1" = 1 นิ้ว
A: อย่างเช่น 1 หุนครึ่ง ถ้าเขียนแบบทื่อๆเลยก็จะเป็น 1.5/8" ซึ่งอาจทำให้ดูไม่สวย หรือถ้าเขียนติดๆกันจะดูยาก เค้าเลยคูณ 2 เข้าไปทั้งเศษและส่วน กลายเป็น 3/16"
Q: 1 นิ้วเท่ากับกี่มิล?
A: 1 นิ้วเท่ากับ 25.4 มิล
Q: งั้น 1 หุนจะเท่ากับกี่มิลกันล่ะ?
A: ก็เอา 25.4 หารด้วย 8 ก็จะได้ 3.175 มิลครับ
Q: เวลาเรียกขนาดก็เหมือนกับมิลใช่มั๊ย ที่ต้องเอาความอ้วน X ความยาว
A: ใช่ครับ เช่น 1/4" X 2-1/2" ก็คือ เกลียวอ้วน 2 หุน ความยาวใต้หัว 2 นิ้วครึ่ง นั่นเอง
Q: ถ้าเราวัดออกมาเป็นมิล แล้วเราจะซื้อสกรูที่เค้าระบุเป็นหุนมาใช้ได้หรือไม่?
A: ไม่ได้ครับ เพราะเกลียวของสกรูมาตรฐานหุนกับมิลนั้น ขันกันไม่ได้
Q: อ้าว!? แล้วจะรู้ได้ยังงัยว่าที่วัดมาม้นเป็นหุนหรือมิล
A: รออ่านบทที่ 3 ครับ ^^;
Q: -*-
สนับสนุนโดย: L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่ง สกรูน็อตและสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วิธีการเรียกสกรู ขั้นพื้นฐาน บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
"สกรู"หรือที่หลายคนนิยมเีรียกกันว่า"น็อตตัวผู้"นั้น มีวิธีเรียกเพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าใจได้ตรงกันดังนี้
- หัว T (Truss Head)
- หัว O (Oval Head)
- หัวกระดุม (Button Head)
- หัว 12 แฉก (Twelve Points)
- หัวคอมบี้ (Combination) (ขออภัยไม่มีรูปของจริง ^^;)
- หัวทอล์ค (Torx)
การเรียกตามประเภทตามรูปร่างของหัว
- หัว T (Truss Head)
- หัว O (Oval Head)
- หัวกระดุม (Button Head)
- หัว 12 แฉก (Twelve Points)
การเรียกตามประเภทตามรอยบากหรือจมของหัว
- หัวคอมบี้ (Combination) (ขออภัยไม่มีรูปของจริง ^^;)
- หัวทอล์ค (Torx)
การเรียกตามลักษณะส่วนปลายของสกรู
การเรียกตามความยาวของเกลียว
เพราะฉะนั้นการที่เราจะเรียกสกรูตัวหนึ่งเราต้องนำลักษณะทั้งหมดมาผสมกัน จึงจะได้สกรูที่รูปร่างชัดเจนไม่ผิดจากที่ต้องการ (การระบุความยาวเกลียวนั้น สามารถละไว้ในฐานที่เข้าใจได้หากสกรูตัวนั้นสั้นมากๆ (เป็นเกลียวตลอดเสมอ) หรือยาวมากๆ (เป็นเกลียวครึ่งเสมอ))
ตัวอย่าง
หลักการง่ายๆ ก็คือ อธิบายรายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความไม่ผิดพลาดในการหาของนะครับ
บทที่ 2 ขนาดของสกรู
บทที่ 2 ขนาดของสกรู
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)