disableMouse

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)

หากท่านเป็นมือใหม่เรื่องสกรู เราแนะนำให้ท่านอ่านบทที่ 1 และ บทที่ 2 ก่อนนะครับ

เอาล่ะครับ มาถึงเรื่องเกลียวกันแล้ว

อย่างที่ว่าไว้ในบทที่ 2 คือการเรียกขนาดของสกรูนั้นมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ระบบมิล (Metrics) และ ระบบหุน (Unified) ซึ่งก็จะสอดคล้องกับเกลียวของสกรู เนื่องจากเกลียวของทั้ง 2 ระบบนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้

ทำความรู้จักกับส่วนประกอบของเกลียวกันก่อน
ส่วนประกอบของเกลียว
รูปประกอบ 1

เนื่องจากเราเป็นขั้นพื้นฐาน เราคงไม่ต้องลงลึกขนาดพวก Crest, Helix Angle, Axis of Screw หรือ Included Angle แต่ศัพท์ที่อยากให้รู้จักกันไว้คือ "Pitch(ระยะเกลียว)"

Pitch คืออะไร?
Pitch (อ่านว่า พิทช์) นั้นก็คือระยะห่างระหว่างเกลียว โดยวัดจากยอดฟันของเกลียว (Crest) โดยจะเห็นได้จาก
รูปประกอบ 1

โดยระยะพิทช์ของระบบเกลียวมิลและหุนนั้นไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจะเป็นขนาดที่ใกล้เคียงกันมากอย่าง M3 กับ 1/8"(เท่ากับ 3.175 มิล) ก็ตามที
การที่พิทช์ไม่ท่ากันนั้น ทำให้เกลียวไม่สามารถขันไปตามร่องเกลียวได้ (ให้นึกภาพเวลาที่สกรู (น็อตตัวผู้) ขันเข้ากับ หัวน็อต (น็อตตัวเมีย)) จึงนับเป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องรู้ว่าสกรูที่เราจะใช้นั้นเป็นระบบมิล หรือ หุน

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เราต้องการเป็นเกลียวมิลหรือหุน?
วิธีที่ชัวร์ที่สุดว่าสกรูที่เราถืออยู่ในมือนั้นเป็นเกลียวอะไรก็คือใช้หัวน็อตที่มีขนาดเดียวกันแล้วรู้ว่าหัวน็อตตัวนั้นคือเกลียวอะไรมาขันกันดู ถ้าขันกันเข้าก็แปลว่าเป็นเกลียวเดียวกันกับหัวน็อตตัวนั้น แต่ถ้าขันไปแล้วติดก็แปลว่าเป็นคนละมาตรฐานกัน
แต่ถ้าไม่มีหัวน็อตให้ลอง อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในการวัดพิทช์ของเกลียวก็คือ "หวีเกลียว (Pitch Gauge)" (รูปประกอบ 2) ในการวัด ซึ่งหากหวีเกลียวเบอร์ไหนทาบลงบนเกลียวแล้วแนบสนิทพอดี ก็ถือว่าเกลียวนั้นมีระยะเกลียวตามที่ระบุไว้บนหวีเกลียวนั่นเอง (รูปประกอบ 3)

หวีเกลียว
รูปประกอบ 2
การทาบเกลียว
รูปประกอบ 3

โดยหวีเกลียวนั้นจะแบ่งออกเป็นหวีเกลียวสำหรับมิลและหุนอยู่แล้ว ทำให้เข้าใจได้ไม่ยากนักว่า ที่ทาบลงไปนั้นเป็นเกลียวประเภทไหน

แต่ถ้าไม่มีหวีเกลียวจริงๆ ต้องใช้ประสบการณ์เท่านั้นครับ โดยหลักการแล้ว เกลียวมิลนั้นจะละเอียดกว่าเกลียวหุนสำหรับสกรูขนาดเดียวกัน แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นอย่างอื่นอีก ทำให้ไม่สามารถบอกได้ด้วยสายตา 100% ยกเว้นว่าเซียนจริงๆ ^^;

ไว้จะมาต่อเรื่องมาตรฐานของเกลียวในบทต่อไปนะครับ ว่าที่เค้าเรียกๆ กันว่า เกลียวหยาบ, ละเอียด, NC, NF และ BSW นั้นคือเกลียวอะไรกันแน่

อ่านบทความย้อนหลังของ "วิธีการเรียกสกรูขึ้นพื้นฐาน"
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)

สนับสนุนโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่ง สกรูน็อตและสลักภัณฑ์ทุกชนิด

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 กันยายน 2564 เวลา 11:29

    สติ๊กเกอร์ไลน์ ชิ้นส่วนมาตรฐาน

    สกรูและสลักเกลียวในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16456268

    แหวนล๊อคในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16425794

    แหวนรองในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16425165

    น๊อตในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16400172



    ตอบลบ