disableMouse

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีการเรียกน๊อตขั้นพื้นฐาน - บทที่ 2 ขนาดของน๊อต

เช่นเดียวกับสกรู เมื่อรู้แล้วว่ารูปร่างของน๊อตชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่าอะไร ก็ต้องระบุขนาดที่ต้องการด้วยเช่นกัน

สำหรับหน่วยวัดที่ใช้เรียกก็จะมีทั้งหุนและมิล เช่นเเดียวกัน โดยท่านสามารถอ่านละเอียดเกี่ยวกับระบบมิลและหุนได้ที่ วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 2 - ขนาดของสกรู

ทีนี้เรามาดูกันว่า หัวน๊อตนั้นมีส่วนสำคัญใดบ้างที่ใช้ในการวัดขนาด
รูปวาดสกรูน๊อต, Hex Nut Illustrator
(ภาพประกอบ 1)

จากภาพประกอบ 1 เราจะเห็นเส้น 3 เส้น และเส้นที่สำคัญที่สุดในการเรียกขนาดหัวน๊อตก็คือ เส้น ID (เส้นสีน้ำเงิน) โดย ID นั้นย่อมาจาก Inside Diameter หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางวงใน
อีก 2 เส้นที่เหลือคือ เส้น AC และ AF
โดยเส้น AC (เส้นสีแดง) นั้นย่อมาจาก Across Corner หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางจากมุมถึงมุม
และเส้น AC (เส้นสีชมพู) นั้นย่อมาจาก Across Flat หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางจากขอบถึงขอบ

ทำไม ID จึงสำคัญที่สุด?
ตามที่ทราบๆ กันดีว่า หัวน๊อตน๊อตจะต้องเอาไปขันกับสกรู เพราะฉะนั้น หากเอาไปใช้งานจริงแล้วมันขันเข้ากับสกรูไม่ได้ หัวน๊อตนั้นก็เปรียบเหมือนเศษเหล็ก จึงทำให้การกำหนดขนาดของหัวน๊อตนั้น จะเรียกตามขนาดของรู หรือ ID นั่นเอง

แล้วส่วนที่เหลือสำคัญยังงัย?
ความสำคัญของ AC ก็คือจะทำให้ทราบได้ว่าต้องใช้ประแจเบอร์อะไรในการขัน
ส่วนความสำคัญของ AF ก็เพื่อทำการ Cross Check กับมาตรฐานว่าหัวน๊อตตัวนี้ ผลิตตามาตรฐานใด (DIN, JIS, ASTM เป็นต้น)

ตัวอย่างวิธีการเรียกขนาดหัวน๊อต
- หัวน๊อต M16 คือ รูเกลียวมีขนาด M16 ใช้กับสกรูโต M16
หัวน๊อตดำ 8.8

- หัวน๊อตล็อคสปริง M20 คือ รูเกลียวมีขนาด M20 ใช้กับสกรูโต M20
หัวน๊อตล็อคสปริงเหล็กแข็ง

- อายนัท (หัวน๊อตห่วง) 1/2" คือ รูเกลียวมีขนาด 1/2" ใช้กับสกรูโต 1/2" (ไม่ได้วัดตรงห่วง)
หัวน๊อตล็อคสปริงเหล็กแข็ง

เป็นต้น

อ่านบทความเกี่ยวกับหัวน๊อตย้อนหลัง
วิธีการเรียกน๊อตขั้นพื้นฐาน - บทที่ 1 รูปร่างของน๊อต

สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีการเรียกน๊อตขั้นพื้นฐาน - บทที่ 1 รูปร่างของน๊อต

มาถึงเรื่องของหัวน๊อตกันบ้าง

คนไทยส่วนใหญ่แล้ว จะเข้าใจว่าคำว่าน๊อตนั้น จะมีความหมายรวมทั้ง สกรู (น๊อตตัวผู้) และ หัวน๊อต (น๊อตตัวเมีย) แต่จริงๆ แล้ว หากผู้ใช้หรือผู้ซื้อไม่แยกชื่อเรียกให้ชัดเจน ว่า น๊อตตัวผู้ คือ สกรู และน๊อตตัวเมียคือหัวน๊อตแล้ว อาจทำให้เกิดความสับสนและอาจได้รับสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามต้องการได้

สำหรับรายละเอียดพื้นฐานสกรูหรือน๊อตตัวผู้นั้น ท่านสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน

เอาล่ะ เรามาเริ่มเรื่องหัวน๊อตของเรากันดีกว่า
หัวน๊อตหรือน๊อตตัวเมียนั้น เป็นที่เข้าใจกันดีว่า จะต้องมีรูตรงกลางและมีเกลียวอยู่ด้านในรู เพื่อที่จะใช้ขันร่วมกับสกรู

หัวน๊อตทั่วไปที่เรารู้จักกันดีและหลายคนคงคิดว่ามีแต่รูปร่างแบบนี้ก็คือ หัวน๊อตหกเหลี่ยม
ห้วน๊อต 8M, L.S.T. Group
(ถาพประกอบ 1)

เพราะฉะนั้นถ้าพูดว่าหัวน๊อตเฉยๆ แล้วไม่ระบุอะไรเพิ่มเติม ก็จะเป็นอันเข้าใจว่า ต้องการหัวน๊อตหกเหลี่ยม
แต่แท้จริงแล้ว หัวน๊อตนั้นมีรูปร่างหลากหลาย ซึ่งการใช้งานก็จะหลากหลายไปตามรูปร่างของมันด้วย ดังเช่น ตัวอย่างดังต่อไปนี้

หัวน๊อตกลม, L.S.T. Group
หัวน๊อตติดจาน, L.S.T. Group
หัวน๊อตหางปลา, L.S.T. Group
หัวน๊อตห่วง, L.S.T. Group
หัวน๊อตผ่า, L.S.T. Group
หัวน๊อตล็อคสปริง, L.S.T. Group
หัวน๊อตล็อคไนลอน, L.S.T. Group
หัวน๊อตแทรคเตอร์, L.S.T. Group

เป็นต้น

เพราะฉะนั้น เวลาเรียกสินค้าเหล่านี้ อย่าลืมแยก "สกรู" กับ "น๊อต" ให้ชัดเจนนะครับ

หากเรียกว่าสกรูน๊อต ก็จะเข้าใจว่า ต้องการทั้งสกรูและน๊อตครบชุด