disableMouse

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)

ก่อนจะอ่านบทความนี้ กรุณาอ่าน บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1) ก่อนนะครับ

ครั้งนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของ ความหยาบ และ ละเอียดของเกลียว

Q: เกลียวหยาบคืออะไร?
A: เกลียวหยาบก็คือ เกลียวที่มี พิทช์ หรือ ระยะห่างเกลียว มากกว่า เกลียวละเอียด

Q: ยังไม่ค่อยเก็ทเท่าไหร่
A: งั้นยกตัวอย่างดีกว่า
ถ้าสกรูยาว 100mm แล้วมี pitch ของเกลียว 2.5mm สกรูตัวนั้นก็จะมีทั้งหมด 40 เกลียว (100 หาร 2.5)
แล้วถ้าสกรูที่ยาวเท่ากัน แต่มี pitch ของเกลียว 1.5mm สกรูตัวนั้นก็จะมีทั้งหมดประมาณ 66 เกลียว
ก็จะเห็นได้ว่าสกรูที่มี 66 เกลียวนั้น ละเอียดกว่าสกรูที่มี 40 เกลียว ถูกต้องมั๊ยครับ?

Q: อืม... พอจะเก็ทละ (มั๊ง) แล้วระยะเกลียวพวกนี้มันตายตัวมั๊ยอะ?
A: ตายตัวตามมาตรฐานครับ เช่น สกรู M20 ก็จะมีเกลียวหยาบที่ 2.5 และเกลียวละเอียดที่ 1.5 ครับ

Q: อ้อ ก็หมายความว่า ถ้าเรารู้ว่าเราอยากได้สกรู M20 เกลียวหยาบ ก็บอกแค่นี้ก็ได้ใช่มั๊ย? ไม่ต้องบอกถึง 2.5 ก็ได้ใช่รึเปล่า?
A: ใช่แล้วครับ (แต่ถ้าจะให้ดี บอกด้วยจะชัวร์กว่านะ ^^;)

Q: แล้วหุนก็ใช้แบบนี้เหมือนกันรึเปล่า?
A: ไม่ใช่ครับ หุนจะไม่ใช้ระยะ Pitch ครับ

Q: อ้าว!? งั้นก็เรียกแค่เกลียวหยาบ เกลียวละเอียดแค่นี้เหรอ
A: จะเรียกแค่นั้นก็ได้ครับ แต่ถ้าจะให้ดีควรรู้หลักนิดนึงจะได้สกรูที่ตรงตามความต้องการที่แท้จริง

Q: อะ ว่ามา
A: เอาเฉพาะที่นิยมแล้วกันนะครับ
เกลียวหุนแบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลักๆ
  • UNC (Unified National Coarse) เรียกสั้นๆ ว่า เกลียว NC
  • UNF (Unified National Fine) เรียกสั้นๆ ว่า เกลียว NF
  • BSW (British Standard Whitworth) ไม่มีเรียกสั้นๆ ^^;
โดยสำหรับ 2 เกลียวแรกนั้นเป็นมาตฐานของอเมริกา และ BSW จะเป็นมาตฐานของอังกฤษ (ตามชื่อมันนั่นแล)

Q: แล้วอันไหนหยาบ อันไหนละเอียด?
A: เกลียว UNC กับ BSW จะเป็นเกลียวหยาบ ส่วน UNF จะเป็นเกลียวละเอียดครับ

Q: งั้น UNC กับ BSW ก็ใช้ด้วยกันได้สิ
A: ไม่ได้ครับ ระยะ Pitch ของเกลียวจะต่างกันอยู่นิดหน่อย ทำให้ใช้ด้วยกันไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นเกลียวหยาบเหมือนกัน

Q: แล้วคนอังกฤษเค้าไม่ใช้เกลียวละเอียดกันเหรอ?
A: ใช้ครับ นั่นคือเกลียว BSF แต่ไม่เป็นที่นิยมในบ้านเรา จึงแทบไม่มีใครรู้จัก

Q: แล้วที่ว่าการเรียกเกลียวของหุนนั้นไม่ใช้ระยะ Pitch หมายความว่ายังงัย?
A: สำหรับเกลียวหุนนั้นจะวัดกันที่ ความยาว 1 นิ้วจะมีอยู่กี่เกลียว เช่น สำหรับมาตรฐาน NC สกรูที่โต 1/2" (4 หุน) จะมีอยู่ 13 เกลียว ก็จะเรียกว่า 13 เกลียวนิ้ว

Q: เวลาเขียนก็จะเป็น 1/2" X 1" 13 เกลียวนิ้ว แบบนี้เหรอ?
A: ไม่ใช่ครับ ต้องเขียน 1/2"-13NC X 1" แบบนี้ครับ

คาดว่าคงจะพอเข้าใจการเรียกเกลียวแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณจะเรียกสกรูในมือของคุณ อย่าลืมใส่เกลียว (ไม่ใช่ยิมนาสติกนะ ^^;) เข้าไปด้วยนะครับ
ตัวอย่าง:
แล้วบทต่อไปเราจะมาเรียนรู้ถึงความแข็งของสกรูกันว่า อะไรคือ 8.8, 10.9, 12.9, แข็งแท้, แข็งเทียม

อ่านบทความก่อนหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น