เช่นเดียวกับสกรู เมื่อรู้แล้วว่ารูปร่างของน๊อตชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่าอะไร ก็ต้องระบุขนาดที่ต้องการด้วยเช่นกัน
สำหรับหน่วยวัดที่ใช้เรียกก็จะมีทั้งหุนและมิล เช่นเเดียวกัน โดยท่านสามารถอ่านละเอียดเกี่ยวกับระบบมิลและหุนได้ที่ วิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐาน บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
ทีนี้เรามาดูกันว่า หัวน๊อตนั้นมีส่วนสำคัญใดบ้างที่ใช้ในการวัดขนาด
(ภาพประกอบ 1)
จากภาพประกอบ 1 เราจะเห็นเส้น 3 เส้น และเส้นที่สำคัญที่สุดในการเรียกขนาดหัวน๊อตก็คือ เส้น ID (เส้นสีน้ำเงิน) โดย ID นั้นย่อมาจาก Inside Diameter หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางวงใน
อีก 2 เส้นที่เหลือคือ เส้น AC และ AF
โดยเส้น AC (เส้นสีแดง) นั้นย่อมาจาก Across Corner หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางจากมุมถึงมุม
และเส้น AC (เส้นสีชมพู) นั้นย่อมาจาก Across Flat หรือ เส้นผ่าศูนย์กลางจากขอบถึงขอบ
ทำไม ID จึงสำคัญที่สุด?
ตามที่ทราบๆ กันดีว่า หัวน๊อตน๊อตจะต้องเอาไปขันกับสกรู เพราะฉะนั้น หากเอาไปใช้งานจริงแล้วมันขันเข้ากับสกรูไม่ได้ หัวน๊อตนั้นก็เปรียบเหมือนเศษเหล็ก จึงทำให้การกำหนดขนาดของหัวน๊อตนั้น จะเรียกตามขนาดของรู หรือ ID นั่นเอง
แล้วส่วนที่เหลือสำคัญยังงัย?
ความสำคัญของ AC ก็คือจะทำให้ทราบได้ว่าต้องใช้ประแจเบอร์อะไรในการขัน
ส่วนความสำคัญของ AF ก็เพื่อทำการ Cross Check กับมาตรฐานว่าหัวน๊อตตัวนี้ ผลิตตามาตรฐานใด (DIN, JIS, ASTM เป็นต้น)
ตัวอย่างวิธีการเรียกขนาดหัวน๊อต
- หัวน๊อต M16 คือ รูเกลียวมีขนาด M16 ใช้กับสกรูโต M16
- หัวน๊อตล็อคสปริง M20 คือ รูเกลียวมีขนาด M20 ใช้กับสกรูโต M20
- อายนัท (หัวน๊อตห่วง) 1/2" คือ รูเกลียวมีขนาด 1/2" ใช้กับสกรูโต 1/2" (ไม่ได้วัดตรงห่วง)
เป็นต้น
อ่านบทความเกี่ยวกับหัวน๊อตย้อนหลัง
วิธีการเรียกน๊อตขั้นพื้นฐาน - บทที่ 1 รูปร่างของน๊อต
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น