มาถึงเรื่องสกรูสแตนเลสกันบ้าง
สกรูสแตนเลสนั้นมีราคาแพงกว่าสกรูที่เป็นเหล็กแข็งกว่าเท่าตัว (อ่านเรื่องความแข็งของสกรูคลิ๊กที่นี่)
แต่ทำไมถึงต้องใช้สกรูสแตนเลสด้วยล่ะทั้งๆที่มันแพงกว่า?
นั่นก็เพราะว่า สแตนเลสนั้นมีโอกาสเกิดสนิมขึ้นน้อยกว่าเหล็กมาก เนื่องจากสนิมนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ Carbon กับ Oxygen โดยในสกรูสแตนเลสนั้นจะมี Carbon ผสมอยู่น้อยถึงน้อยมาก (แม่เหล็กดูดไม่ติด หรืออาจจะติดบ้างแต่ไม่เท่ากับเหล็ก) ซึ่งหากการใช้งานของสกรูอยู่ในพื้นที่ที่ต้องโดนน้ำอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้สกรูสแตนเลสก็น่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า ทั้งด้านความปลอดภัยและค่าใช้จ่าย
สกรูสแตนเลสที่เป็นที่รู้จักดีและเป็นที่นิยมในบ้านเรานั้น จะมีอยู่ 2 เกรด ได้แก่ เกรด SUS-304 และ SUS-316 โดย SUS นั้นย่้อมาจาก Steel Use Stainless
โดยการเปรียบเทียบคุณสมบัติของสกรูทั้ง 2 เกรดนี้ แทบจะไม่ต้องคิดมากเลยว่า เกรด SUS-316 นั้นต้องดีกว่า SUS-304 อยู่แล้ว ทั้งการเป็นสนิมที่ยากกว่า เนื่องจากมี นิกเกิ้ล (Ni) ผสมอยู่มากกว่า 2-3.5% และสามารถทนทานความร้อนได้สูงกว่า เนื่องจากมี โมลิบดินั่ม (Mo) ผสมอยู่ด้วยในขณะที่ SUS-304 นั้นไม่มี
ซึ่งแน่นอนที่ว่า ราคาของ SUS-316 นั้นก็สูงกว่า SUS-304 เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว (ประมาณ 80%) แต่นอกจากคุณสมบัติที่แตกต่างกัน 2 อย่างดังที่กล่าวไปแล้วนั้น คุณสมบัติอื่นๆ ของสกรู 2 เกรดนี้ เรียกได้ว่า ไม่แตกต่างกันเลย ทั้งการรับแรงกด แรงขัน แรงดึง ความแข็ง
สำหรับสกรูที่ทำมาจากสแตนเลสเกรด SUS-304 นั้น ที่หัวสกรูจะมีปั๊มสัญลักษณ์ A2 (หรือไม่ได้ปั๊ม) ส่วนเกรด SUS-316 จะปั๊มว่า A4
ตัวอย่างสกรูสแตนเลสได้แก่
จึงเห็นได้ว่า การเรียกรูปร่างของสกรูนั้น ก็ใช้วิธีการเดียวกันกับสกรูเหล็ก เพียงแต่ต้องระบุด้วยว่าต้องการแบบสแตนเลสด้วย มิฉะนั้น คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเป็นสกรูเหล็ก
อ่านวิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐานย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
บทที่ 5 - ความแข็งของสกรู
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
แต่ทำไมถึงต้องใช้สกรูสแตนเลสด้วยล่ะทั้งๆที่มันแพงกว่า?
นั่นก็เพราะว่า สแตนเลสนั้นมีโอกาสเกิดสนิมขึ้นน้อยกว่าเหล็กมาก เนื่องจากสนิมนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ Carbon กับ Oxygen โดยในสกรูสแตนเลสนั้นจะมี Carbon ผสมอยู่น้อยถึงน้อยมาก (แม่เหล็กดูดไม่ติด หรืออาจจะติดบ้างแต่ไม่เท่ากับเหล็ก) ซึ่งหากการใช้งานของสกรูอยู่ในพื้นที่ที่ต้องโดนน้ำอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้สกรูสแตนเลสก็น่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า ทั้งด้านความปลอดภัยและค่าใช้จ่าย
สกรูสแตนเลสที่เป็นที่รู้จักดีและเป็นที่นิยมในบ้านเรานั้น จะมีอยู่ 2 เกรด ได้แก่ เกรด SUS-304 และ SUS-316 โดย SUS นั้นย่้อมาจาก Steel Use Stainless
โดยการเปรียบเทียบคุณสมบัติของสกรูทั้ง 2 เกรดนี้ แทบจะไม่ต้องคิดมากเลยว่า เกรด SUS-316 นั้นต้องดีกว่า SUS-304 อยู่แล้ว ทั้งการเป็นสนิมที่ยากกว่า เนื่องจากมี นิกเกิ้ล (Ni) ผสมอยู่มากกว่า 2-3.5% และสามารถทนทานความร้อนได้สูงกว่า เนื่องจากมี โมลิบดินั่ม (Mo) ผสมอยู่ด้วยในขณะที่ SUS-304 นั้นไม่มี
ซึ่งแน่นอนที่ว่า ราคาของ SUS-316 นั้นก็สูงกว่า SUS-304 เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว (ประมาณ 80%) แต่นอกจากคุณสมบัติที่แตกต่างกัน 2 อย่างดังที่กล่าวไปแล้วนั้น คุณสมบัติอื่นๆ ของสกรู 2 เกรดนี้ เรียกได้ว่า ไม่แตกต่างกันเลย ทั้งการรับแรงกด แรงขัน แรงดึง ความแข็ง
สำหรับสกรูที่ทำมาจากสแตนเลสเกรด SUS-304 นั้น ที่หัวสกรูจะมีปั๊มสัญลักษณ์ A2 (หรือไม่ได้ปั๊ม) ส่วนเกรด SUS-316 จะปั๊มว่า A4
ตัวอย่างสกรูสแตนเลสได้แก่
จึงเห็นได้ว่า การเรียกรูปร่างของสกรูนั้น ก็ใช้วิธีการเดียวกันกับสกรูเหล็ก เพียงแต่ต้องระบุด้วยว่าต้องการแบบสแตนเลสด้วย มิฉะนั้น คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเป็นสกรูเหล็ก
อ่านวิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐานย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
บทที่ 5 - ความแข็งของสกรู
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น