หลายๆท่านคงจะทราบกันอยู่แล้วว่า เหล็กนั้นแข็ง และสกรูที่ทำมาจากเหล็กก็ต้องแข็งเหมือนเหล็ก
แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า เหล็กแต่ละท่อนนั้น มีความแข็งที่ไม่เท่ากัน เนื่องมาจากส่วนผสมทางเคมีภายในเหล็กแต่ละท่อนนั้นไม่เหมือนกันนั่นเอง
โดยสกรูที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในบ้านเราก็คือสกรูเหล็กเหนียว หรือ สกรูแข็งเทียม (ไม่แข็งนั่นเอง ^^;) สาเหตุหลักก็เพราะมันถูกที่สุดเมื่อเทียบกับสกรูที่ทำจากเหล็กที่แข็งกว่า
แต่นับวัน จำนวนผู้ใช้สกรูเหล็กเหนียวนั้นจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ใช้เริ่มจะรู้ว่าสกรูเหล็กแข็งนั้นสามารถใช้ได้นานกว่าสกรูเหล็กเหนียวเท่าตัว แต่ราคาแพงกว่าเพียง 30% โดยประมาณ เพราะฉะนั้นจึงหันมาใช้สกรูเหล็กแข็งเพิ่มขึ้นเพราะช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้า (ไม่ต้องไปซื้อบ่อยๆ)
สกรูเหล็กแข็งนั้นมีหลายเกรด แต่ที่นิยมใช้ในบ้านเราก็จะมีหลักๆ แค่ 3 เกรดเท่านั้น คือ
แล้วตัวเลขพวกนี้มีที่มาอย่างไร?
ที่มาที่แท้จริงนั้น ผู้เขียนก็ยังไม่ทราบเช่นกัน หากผู้ใดทราบรบกวนช่วยบอกกล่าวด้วยนะครับ (^_^)
แต่จากที่ดูตาราง Spec ของสกรูแล้ว ทำให้เดาได้ว่า เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงอัตราการรับแรงดึงของสกรู
เช่น
ภาพประกอบ 1
วิธีดูว่าสกรูตัวไหนมีความแข็งเท่าไหร่
สำหรับสกรูหัวหกเหลี่ยมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการปั๊มเกรดอยู่ที่หัวสกรู (Head Marking) ว่าสกรูตัวนี้เกรดเท่าไหร่ เช่น สกรูหัวหกเหลี่ยม 8.8 ก็จะปั๊ม 8.8, สกรูหัวหกเหลี่ยม 10.9 ก็จะปั๊ม 10.9 เช่นนี้
แต่ก็ไม่เสมอไป(อ้าว!? ยุ่งล่ะสิ) เนื่องจากตามมาตรฐานสากลแล้ว การที่จะปั๊มเลขลงบนหัวสกรูนั้นจะใช้กับสกรูที่มีมาตรฐานเป็นเกลียวมิลเท่านั้น ส่วนสกรูที่มีมาตรฐานเป็นเกลียวหุนจะมีการแสดงสัญลักษณ์ที่ต่างออกไป เพราะว่าถ้าเป็นสกรูเหล็กแข็งของเกลียวหุน (UNC, UNF) จะเีรียกเป็น เกรด 5 และ เกรด 8 ตามลำดับ โดยความแข็งของเกรด 5 จะใกล้เคียงกับ 8.8 และ ความแข็งของเกรด 8 จะใกล้เคียงกับ 10.9 (ไม่ได้เท่ากันเป๊ะๆ)
เมื่อเป็นเช่นนี้ หัวของสกรูเหล็กแข็งที่เป็นหุนจะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้แทนเลขเกรด
ภาพประกอบ 2 - สัญลักษณ์ของสกรูเหล็กแข็งเกรด 5 (เทียบเท่า 8.8)
ภาพประกอบ 3 - สัญลักษณ์ของสกรูเหล็กแข็งเกรด 8 (เทียบเท่า 10.9)หลักการดูง่ายๆ ว่าสกรูเกลียวหุนนี้เป็นเกรดไหนก็คือ ถ้าเป็นเกรด 5 ที่หัวจะปั๊ม 3 ขีด และถ้าเป็นเกรด 8 ที่หัวจะปั๊ม 6 ขีด ซึ่งการรูปแบบของขีดที่ปั๊มนี้อาจจะไม่ตรงตามรูปประกอบที่ 2 และ 3 แต่จำนวนของขีดจะต้องตรงตามที่ได้กล่าวไป
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น หลักการที่ว่า ยิ่งเกรดของสกรูยิ่งสูง ยิ่งมีความแข็งมาก ก็ยิ่งดีนั้น ไม่สามารถใช้ได้เสมอไป เนื่องจาก ของที่แข็งมากๆ นั้น ก็จะมีความเปราะมากตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้สกรูที่แข็งมากๆ นั้นไม่ทนทานและแตกหักได้ง่ายกว่าสกรูที่มีความแข็งน้อยกว่า
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นก็คือ
เปรียบสกรูเหล็กแข็ง 12.9 เป็น ไม้หน้าสาม และ เปรียบสกรูเหล็กเหนียว (แข็งเทียม) เป็น เย็ลลี่สติ๊ก
ไม้หน้าสามนั้น สามารถรับน้ำหนัก พาดเป็นคานวางของ หรือเอาไปค้ำยันอะไรต่ออะไรได้ แต่หากเราเอามันไปฟาดกับกำแพงแรงๆ มันก็จะหัก
ในขณะที่หากคุณเอาเยลลี่สติ๊กไปฟาดกับอะไรมันก็ไม่หัก อาจมีการเปลี่ยนรูปร่างไปบ้าง เพียงแต่มันรับแรงไม่ได้ ไม่สามารถวางนำไปพาดแล้ววางสิ่งของไว้บนมันได้
เพราะฉะนั้น การที่เราจะใช้สกรูเกรดใดนั้น ควรที่จะศึกษาดูก่อนว่าต้องการใช้งานมันแบบใด เพื่อที่จะเป็นการเำพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน และยังช่วยลดต้นทุนอันเนื่องมาจากการใช้สินค้าผิดคุณสมบัติอีกด้วย
อ่านวิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐานย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด
แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า เหล็กแต่ละท่อนนั้น มีความแข็งที่ไม่เท่ากัน เนื่องมาจากส่วนผสมทางเคมีภายในเหล็กแต่ละท่อนนั้นไม่เหมือนกันนั่นเอง
โดยสกรูที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในบ้านเราก็คือสกรูเหล็กเหนียว หรือ สกรูแข็งเทียม (ไม่แข็งนั่นเอง ^^;) สาเหตุหลักก็เพราะมันถูกที่สุดเมื่อเทียบกับสกรูที่ทำจากเหล็กที่แข็งกว่า
แต่นับวัน จำนวนผู้ใช้สกรูเหล็กเหนียวนั้นจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ใช้เริ่มจะรู้ว่าสกรูเหล็กแข็งนั้นสามารถใช้ได้นานกว่าสกรูเหล็กเหนียวเท่าตัว แต่ราคาแพงกว่าเพียง 30% โดยประมาณ เพราะฉะนั้นจึงหันมาใช้สกรูเหล็กแข็งเพิ่มขึ้นเพราะช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้า (ไม่ต้องไปซื้อบ่อยๆ)
สกรูเหล็กแข็งนั้นมีหลายเกรด แต่ที่นิยมใช้ในบ้านเราก็จะมีหลักๆ แค่ 3 เกรดเท่านั้น คือ
- สกรูเหล็กแข็ง 8.8
- สกรูเหล็กแข็ง 10.9
- สกรูเหล็กแข็ง 12.9
แล้วตัวเลขพวกนี้มีที่มาอย่างไร?
ที่มาที่แท้จริงนั้น ผู้เขียนก็ยังไม่ทราบเช่นกัน หากผู้ใดทราบรบกวนช่วยบอกกล่าวด้วยนะครับ (^_^)
แต่จากที่ดูตาราง Spec ของสกรูแล้ว ทำให้เดาได้ว่า เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงอัตราการรับแรงดึงของสกรู
เช่น
- สกรูหัวหกเหลี่ยมเกรด 8.8 สามารถรับแรงดึงได้ถึง 81.5 กิโลฟอร์ซ/ตารางมิลลิเมตร (หากดึงแรงเกินกว่านี้จะขาด)
- สกรูหัวหกเหลี่ยมเกรด 10.9 สามารถรับแรงดึงได้ถึง 106.0 กิโลฟอร์ซ/ตารางมิลลิเมตร (หากดึงแรงเกินกว่านี้จะขาด)
ภาพประกอบ 1
วิธีดูว่าสกรูตัวไหนมีความแข็งเท่าไหร่
สำหรับสกรูหัวหกเหลี่ยมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการปั๊มเกรดอยู่ที่หัวสกรู (Head Marking) ว่าสกรูตัวนี้เกรดเท่าไหร่ เช่น สกรูหัวหกเหลี่ยม 8.8 ก็จะปั๊ม 8.8, สกรูหัวหกเหลี่ยม 10.9 ก็จะปั๊ม 10.9 เช่นนี้
แต่ก็ไม่เสมอไป(อ้าว!? ยุ่งล่ะสิ) เนื่องจากตามมาตรฐานสากลแล้ว การที่จะปั๊มเลขลงบนหัวสกรูนั้นจะใช้กับสกรูที่มีมาตรฐานเป็นเกลียวมิลเท่านั้น ส่วนสกรูที่มีมาตรฐานเป็นเกลียวหุนจะมีการแสดงสัญลักษณ์ที่ต่างออกไป เพราะว่าถ้าเป็นสกรูเหล็กแข็งของเกลียวหุน (UNC, UNF) จะเีรียกเป็น เกรด 5 และ เกรด 8 ตามลำดับ โดยความแข็งของเกรด 5 จะใกล้เคียงกับ 8.8 และ ความแข็งของเกรด 8 จะใกล้เคียงกับ 10.9 (ไม่ได้เท่ากันเป๊ะๆ)
เมื่อเป็นเช่นนี้ หัวของสกรูเหล็กแข็งที่เป็นหุนจะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้แทนเลขเกรด
ภาพประกอบ 2 - สัญลักษณ์ของสกรูเหล็กแข็งเกรด 5 (เทียบเท่า 8.8)
ภาพประกอบ 3 - สัญลักษณ์ของสกรูเหล็กแข็งเกรด 8 (เทียบเท่า 10.9)หลักการดูง่ายๆ ว่าสกรูเกลียวหุนนี้เป็นเกรดไหนก็คือ ถ้าเป็นเกรด 5 ที่หัวจะปั๊ม 3 ขีด และถ้าเป็นเกรด 8 ที่หัวจะปั๊ม 6 ขีด ซึ่งการรูปแบบของขีดที่ปั๊มนี้อาจจะไม่ตรงตามรูปประกอบที่ 2 และ 3 แต่จำนวนของขีดจะต้องตรงตามที่ได้กล่าวไป
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น หลักการที่ว่า ยิ่งเกรดของสกรูยิ่งสูง ยิ่งมีความแข็งมาก ก็ยิ่งดีนั้น ไม่สามารถใช้ได้เสมอไป เนื่องจาก ของที่แข็งมากๆ นั้น ก็จะมีความเปราะมากตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้สกรูที่แข็งมากๆ นั้นไม่ทนทานและแตกหักได้ง่ายกว่าสกรูที่มีความแข็งน้อยกว่า
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นก็คือ
เปรียบสกรูเหล็กแข็ง 12.9 เป็น ไม้หน้าสาม และ เปรียบสกรูเหล็กเหนียว (แข็งเทียม) เป็น เย็ลลี่สติ๊ก
ไม้หน้าสามนั้น สามารถรับน้ำหนัก พาดเป็นคานวางของ หรือเอาไปค้ำยันอะไรต่ออะไรได้ แต่หากเราเอามันไปฟาดกับกำแพงแรงๆ มันก็จะหัก
ในขณะที่หากคุณเอาเยลลี่สติ๊กไปฟาดกับอะไรมันก็ไม่หัก อาจมีการเปลี่ยนรูปร่างไปบ้าง เพียงแต่มันรับแรงไม่ได้ ไม่สามารถวางนำไปพาดแล้ววางสิ่งของไว้บนมันได้
เพราะฉะนั้น การที่เราจะใช้สกรูเกรดใดนั้น ควรที่จะศึกษาดูก่อนว่าต้องการใช้งานมันแบบใด เพื่อที่จะเป็นการเำพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน และยังช่วยลดต้นทุนอันเนื่องมาจากการใช้สินค้าผิดคุณสมบัติอีกด้วย
อ่านวิธีการเรียกสกรูขั้นพื้นฐานย้อนหลัง
บทที่ 1 - รูปร่างของสกรู
บทที่ 2 - ขนาดของสกรู
บทที่ 3 - เกลียวของสกรู (1)
บทที่ 4 - เกลียวของสกรู (2)
สนับสนุนบทความโดย L.S.T. Group - ผู้ค้าปลีกและส่งสกรูน๊อต และสินค้าสลักภัณฑ์ทุกชนิด